การบริหารจัดการด้านคุณภาพ
TQM: Total Quality
Management
1.
แนวคิด / ความเป็นมาของการบริหารจัดการด้านคุณภาพ
การบริหารจัดการด้านคุณภาพเป็นกรอบการบริหารทางด้านองค์กร Organizing เริ่มมีการนำแผนนี้มาใช้งานใน ช่วงกลางทศวรรษ
1980’s และเริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา
โดยก่อนที่จะมี TQM นั้น
ได้มีพัฒนาการทาง ด้านการควบคุมคุณภาพของการผลิตในช่วงต่างๆ หลักการบริหารจัดการ ควบคุมการผลิต
TQC: Total Quality Control ซึ่งจากการควบคุม ก็พัฒนามาเป็นการบริหารจัดการทั้งระบบ
2. การบริหารจัดการด้านคุณภาพคืออะไร
การบริหารจัดการด้านคุณภาพ คือ การจัดการขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับ
คุณภาพในทุกกระบวนการ ด้วย การมีส่วนร่วมของหน่วยงานในทุกๆภาคส่วนขององค์กรเพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จในระยะยาวและเป็นที่ถูกใจต่อลูกค้า
มีการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือ
บริการ และ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างเกณฑ์มาตรฐานระหว่างองค์กรกับคู่แข่งขันในการเปรียบเทียบคุณภาพ
พัฒนาของบุคลากร หน่วยต่างๆ ขึ้นภายในองค์กร เพื่อจะมาควบคุมดูแล ทางด้าน คุณภาพอย่างเป็นระบบ
สร้างความเชี่ยวชาญในอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานสร้างเสริม คุณภาพของสินค้า หรือ
บริการให้มีผลลัพท์ออกมาดีที่สุด จัดระบบคัดเลือกคู่ค้า ผู้ผลิตสินค้า และ
ผู้จัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพ
องค์ประกอบของการบริหารจัดการด้านคุณภาพ มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
การให้คำมั่นสัญญาของผู้บริหาร (Management Commitment) PDCA; Plan
Do Check Act
Plan: การวางแผนมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
Do: การปฏิบัติการวางกำลังเพื่อขับเคลื่อน ให้การสนับสนุน และ ให้ความเอาใจใส่
Check: การตรวจสอบทบทวนขั้นตอนต่างๆ หาจุดบกพร่อง
Act: การแสดงออกจดจำผลลัพท์ที่ได้เพื่อนำไปสื่อสารกับหน่วยงานในองค์กร และ
ทำการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น
การทำหน้าที่อย่างถูกต้องของบุคลากรในองค์กร (Employee Empowerment)
Training: บุคลากรควรได้รับการอบรม ทางเทคนิค อุปกรณ์
ขั้นตอนการดำเนินงานอย่าง มีประสิทธิภาพ
Suggestion scheme: บุคลากรได้รับการจัดเตรียมทางหน้าที่ปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมใน
แต่ละคน
Measurement and
Recognition: สามารถทำการวัดผลถึงผลงานที่ผ่านมาและมีรางวัลให้
กับผู้ทำงานสำเร็จ
Excellence Teams: บุคลากรสามารถรวมกลุ่มสร้างหน่วยงานที่มีคุณภาพในการทำงานเข้าใจในบทบาทหน้าที่
และ สนับสนุนการทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี
การตัดสินใจตามหลักความจริง Fact Based Decision Making
SPC
(Statistical process control): ใช้หลักสถิติในการควบคุมขั้นตอนการปฏิบัติงาน
การผลิตที่ด้อยคุณภาพ ก็จะต้องตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนแผนงานใหม่ที่สามารถให้ผลลัพท์ที่ดีกว่าได้
DOE (Design of experiments), FMEA (Failure modes and effects Analysis): ออกแบบการทดลอง และการ ป้องกันปัญหาก่อนลงมือผลิต
จะมีส่วนช่วยในการตัดสินใจเมื่อมอง เห็นจากข้อเท็จจริงต่างๆที่กระบวนการได้แสดงออก
มาแล้ว จะทำให้การเลือกใช้ทางแก้ หรือ การตัดสินใจได้รอบคอบยิ่งขึ้น
The
7 Statistic tools: เครื่องมือทางสถิติที่จะช่วยให้เห็นถึงข้อมูลที่แท้จริงช่วยในการตัดสินใจ
TOPS (Ford 8D – team
–oriented problem solving): การสร้างทีมพิจารณาปัญหาเตรียมวิธีการแก้ไข บ่งชี้ถึง สาเหตุของปัญหาได้
เลือกใช้วิธีการที่ถูกต้อง ขั้นตอนการปฏิบัติงาน หลีกเลี่ยงปัญหาที่จะกลับมาเกิดซ้ำอีก
การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)
Systematic
measurement and focus on CONQ: หลักการชี้วัดอย่างเป็นระบบ เพื่อมุ่งต่อการบรรลุผลสำเร็จ
Excellence teams: สร้างทีมที่มีความชำนาญ
และ มีความเข้าใจในการบริหารจัดการ เพื่อบรรลุ เป้าหมาย
Cross-functional
process management: สามารถประสานงาน ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันข้ามแผนก และ สายงาน
Attain,
Maintain, Improve standards: บรรลุเป้าหมายมีการดำเนินงานต่อเนื่องและการปรับปรุงมาตรฐานองค์กร
3. การบริหารจัดการคุณภาพใช้เพื่อ
วิเคราะห์หาสิ่งที่ผู้บริโภคมีความต้องการ หรือ พึงพอใจต่อสินค้า
หรือบริการที่องค์กรดำเนินการอยู่ โดยวิเคราะห์ ผู้บริโภคอย่างละเอียด
เพื่อนำมาเตรียมแบบกลยุทธ์ในการปฏิบัติการ การเตรียมทรัพยากรที่มีความจำเป็นสรรหา วัตถุดิบ
มีคุณภาพ วิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค เพื้อนำสินค้าออกมาได้ตรงกับความต้องการ
เตรียมขั้นตอนการ การทำงาน ที่เหมาะสมสำหรับองค์กร ได้การทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด
และประเมินผลเพื่อนำมาเพื่อวิเคราะห์ และใช้ปรับปรุง
4. ข้อดี และ
ข้อเสียของการบริหารจัดการด้านคุณภาพ
ข้อดี: วิเคราะห์เห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ หรือ ข้อควรระวัง ที่มีต่อองค์กรอย่างรอบด้าน
ช่วยให้มีคุณสมบัติที่ชัดเจนในการใช้ คัดเลือกบุคลากรเข้ามาร่วมในองค์กร
สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีความละเอียดรอบคอบ เตรียมทรัพยากรที่เหมาะสม
ข้อเสีย: หากมีงบประมาณที่จำกัดจะทำให้กำลังใจถูกลดทอนลง องค์กรที่ยึดหลักการเหนียวแน่น
อาจทำให้ความคิด สร้างสรรค์ใหม่ๆ ถูกปัดทิ้งไปโดยยังไม่ได้ทำการพิสูจน์ เป็นกระบวนการ
ที่ใช้ระยะเวลาและเงินทุน
5. การจัดทำการบริหารจัดการด้านคุณภาพ
องค์กรที่มุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพจะต้องมีการสำรวจผลงาน
และ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ตลอดจนพัฒนาขั้นตอนใดที่ยังเป็นปัญหาทำให้เกิดผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ
การ ต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีขั้นตอนในการนำแผนไปปฏิบัติดังนี้
·
แต่งตั้งผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพขององค์กร
โดยส่วนใหญ่ควรจะเป็นผู้บริหารระดับสูง
·
วางแผนในการปฏิบัติงาน
โดยผู้บริหารร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย และ กลยุทธ์ด้านการจัดการคุณภาพ
·
นำแผนงานไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบ
เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในสายงานบริหารได้มีส่วนร่วมตามหลักเหตุผล
·
ติดตามประเมินผล ตรวจสอบผลงานที่ได้ และ วางแนวทางแก้ไข
มุ่งหวังในคุณภาพสูงสุดอยู่เสมอ
·
เสริมสร้างองค์กรให้มีความคุ้นเคยกับการบริหารจัดการด้านคุณภาพอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ
6. มีใครนำการบริหารจัดการด้านคุณภาพไปใช้บ้าง
บริษัท
เครือซีเมนต์ไทย (เอสซีจี)
7. กรณีศึกษา
บริษัท เครือซีเมนต์ไทย
(เอสซีจี) เป็นบริษัทที่ประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจหลัก
5 กลุ่มได้แก่ ปิโตรเคมี กระดาษและบรรจุภัณฑ์
ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และ การจัดจำหน่าย ซึ่งมีบริษัทในเครืออีกกว่า 100 บริษัท
และมีพนักงานกว่า 20,000 คน
ซึ่งมีการทำธุรกิจการค้าทั้งภายใน และ ระหว่างประเทศ
ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการคุณภาพขององค์กรดังนี้
มีความพอประมาณทั้งงาน
และ คน เอสซีจี
ใช้หลักในการคัดเลือกพนักงานให้เหมาะกับงานขององค์กร ด้วยมุ่งหวังที่จะได้ประโยชน์ในทั้งระยะสั้นและระยะยาว
มีแผนงานในการให้รางวัล เลื่อนตำแหน่ง โยกย้ายให้สอดคล้องกับความก้าวหน้า มีเหตุมีผล
สรรหา คนดี คนเก่ง มีคุณภาพสูง และ ซื่อสัตย์
เพื่อให้สอดรับกับวัฒนธรรมองค์กรเรื่องคุณภาพ คู่ คุณธรรม
การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ที่มีการพนักงานด้วยหลักสูตรการบริหาร เช่น
การพัฒนาภาวะผู้นำ โดยส่งผู้บริหารไปอบรมหลักสูตรที่ Harvard Business School รุ่นละ 2 คน และ 4 คนต่อปี
ความรู้คู่คุณธรรมความยึดมั่นในการพัฒนาบุคลากรมายาวนาน
เพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบในการแข่งขันเชิงธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น