วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

25. ทฤษฎีของ Thomas J. Peters



25. ทฤษฎีของ Thomas J. Peters
หลักการทฤษฎีการจัดการ/แนวคิด/ความเป็นมา ของทฤษฎี  Thomas  J.Peters
หลักการการจัดการเป็นขบวนการที่ทําให้งานกิจกรรมต่างๆ สําเร็จลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลด้วยคนและทรัพยากรขององค์การ  ซึ่งตามความหมายนี้องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ได้แก่  - ขบวนการ (process) - ประสิทธิภาพ (efficiency) - ประสิทธิผล (effectiveness) ขบวนการ (process) ในความหมายของการจัดการนี้หมายถึงหน้าที่ต่างๆด้านการจัดการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การโน้มนําองค์การ และการควบคุม
แนวคิด ของ Thomas J. Peters ที่ทำให้องค์กรเป็นเลิศไว้ 8 ประการ ดังนี้
1 การมุ่งการกระทำ (A bias for action) 
2 การใกล้ชิดกับลูกค้า (close to the customer) 
3 การส่งเสริมความเป็นอิสระและความเป็นเจ้าของ (Autonomy and Entrepreneurship)   
4 การเพิ่มผลผลิตโดยอาศัยคน (Productivity through People) 
5. การมุ่งที่ค่านิยม (Hand on Value driven) 
6 การดำเนินธุรกิจที่เชี่ยวชาญ (Stick to the knitting) 
7 การมีโครงสร้างที่เรียบง่ายและมีที่ปรึกษาน้อยลง (Simple structure and Loss consulted) 
8 การเข้มงวดและผ่อนปรนในขณะเดียวกัน (Simultaneous)

เครื่องมือนี้คืออะไร / มีองค์ประกอบอะไร
1.  โครงสร้าง (Structure): 
1.1 ถือเสมือนแต่ละหน่วยงานคือ บริษัทอิสระ 
1.2 กระจายหน้าที่ของงานสำคัญให้แต่ละสายงาน 
1.3 รวมศูนย์ไว้ในส่วนกลางหรือสำนักงานใหญ่น้อยที่สุด 
1.4 เมื่อสายงานใหญ่ขึ้นให้แยกตัวใหม่เป็นอิสระ 
1.5 โยกย้ายและสับเปลี่ยนบุคลากรระหว่างสายงาน                                                                                                                                                                                    
2. กลยุทธ์ (Strategy):  
2.1   สร้างกลยุทธ์ด้านบริการ คุณภาพและการเชื่อถือ 
2.2  ฝึกความเป็นนักหาช่องว่างแปลงปัญหาหรือวิกฤตเป็นโอกาส 
2.3  ฟังความคิดเห็นของลูกค้า 
2.4  เป็นนักปฏิบัติการเชิงรุก (proactive) 
2.5 เป็นนักปฏิบัติการที่มีแผนที่ (map) สู่จุดหมายปลายทาง                                                                                                                                                                                           3. ระบบ (System)  
3.1 เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ 
3.2 เน้นถูกกว่าประหยัดกว่า 
3.3 เน้นความเร็วกว่า 
3.4 เน้นความประทับใจเหนือความคาดหวัง 
3.5 เน้นนำระบบคุณค่ามาใช้กับความสามารถของคนอย่างเต็มที่                                                                                                   
4. พนักงาน (Staff) 
4.1 สร้างบรรยากาศและครอบครัว 
4.2  มุ่งเน้นสายการบังคับบัญชาเฉพาะจำเป็น 
4.3  สร้างความเข้าใจในการทำงาน 
4.4  ปฐมนิเทศฝึกอบรมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 
4.5  แจ้งให้ทุกคนทราบเป้าหมายและมีส่วนรับรู้                                                                          

5.  สไตล์การบริหาร (Style) 
5.1 ทำองค์กรให้คล่องตัว 
5.2  มีการทดลองปฏิบัติสิ่งใหม่ ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ 
5.3  ทำระบบให้ง่ายขึ้น 
5.4  ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมปรับปรุงพัฒนา 
5.5  ทุกคนคือส่วนหนึ่งของความสำเร็จ                                                                                                           
6. ทักษะ (Skill) 
6.1 เอาใจใส่ลูกค้า แต่ปล่อยอิสระในการทำงาน 
6.2 กวดขันระเบียบวินัยต่าง ๆ 
6.3 เข้มงวดให้เป็นนักริเริ่ม ทดลอง   
6.4 เน้นเรื่องกะทัดรัดมากกว่าขนาดใหญ่ 
6.5 ลูกค้าได้รับสิ่งที่ดีที่สุด                                                                                                      
  
7.  ค่านิยมร่วม (Shared value)  
7.1 องค์การ คือ หน่วยงานของเราที่ดีที่สุด 
7.2 ทำงานอย่างละเอียดถี่ถ้วน หรือข้อบกพร่องต้องเป็นศูนย์ 
7.3 ทุกคนสำคัญเสมอ 
7.4 ลูกค้ามีความพึงพอใจและรักตลอดไป

เครื่องมือนี้ใช้เพื่อ สร้างความเข้าใจ ในภาพรวมของกระบวนการทั้งหมด เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการ ทำให้องค์การบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย  เช่น Balanced Scorecard (BSC)  และ Benchmarking

ข้อดีของ BSC:  ไม่ละเลยวิธีการวัดผลแบบดั้งเดิม(Financial  Perspective) ให้ความสำคัญแก่ลูกค้า (Customer  Orientation) มุ่งการรื้อปรับระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ (Reengineering) ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ (Technology) บนพื้นฐานแนวความคิดองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
ข้อเสียของ BSC: วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ที่กําหนดขึ้น  ขาดการสื่อสารและการถ่ายทอดไปยังผู้บริหารระดับต่าง ๆ  และพนักงานการที่ผู้บริหารระดับต่าง ๆ และพนักงานยังขาดแรงจูงใจที่จะปฏิบัติตามกลยุทธ์ผู้บริหารระดับสูงขององค์การไม่ให้ความสำคัญด้านกลยุทธ์

จัดทำอย่างไร การวางแผน (planning)  การจัดองค์การ(organizing)  การโน้มนําพนักงาน (leading/influencing)

ผู้นำไปใช้ หน่วยงานราชการ ,บริษัท , ห้างหุ้นส่วน , ห้างสรรพสินค้า , ร้านค้าต่างๆ และ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร

กรณีศึกษา
- คณะกรรมการ กพร. ได้นำระบบนี้ไปใช้ในการประเมินผลข้าราชการ ทั่วประเทศ

- รัฐวิสาหกิจ ได้นำไปใช้ในการเป็นตัวชี้วัดด้านคุณภาพไฟฟ้า 
- บริษัท ต่าง ๆ ได้นำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิตสินค้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น