วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

19. ทฤษฎีของ Mary Parker Follet

19. ทฤษฎีของ Mary Parker Follet

กฎแห่งความเหมาะสมตามสถานการณ์ (Law of Situation)
หลักการและแนวคิด
       เป็นทฤษฎีสมัยปัึจจุบัน มีลักษณะของการวิเคราะห์องค์การในเชิงระบบ Follett เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในทฤษฎีสมัยปัจจุบันระหว่างปี ค.ศ.1920-1930 ผล งานของเธอเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยาของความสัมพัธ์ในองค์การธุรกิจ ที่รวมเอาความสนใจต่าง ๆ ในเรื่องของตัวบุคคลและองค์การ เธอได้เสนอแนะว่าควรจะมีการทำงานต่าง ๆ ให้สำเร็จด้วยการมีจิตใจที่จะร่วมมือประสานกัน โดยเห็นว่าบุคคลทุกคนจะถูกนับว่าเป็นคน ๆ หนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมด้วย จะเห็นว่าการเสนอแนะของ Follett สามารถที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จได้โดยไม่ต้องเสียผลประโยชน์ขององค์การไป สรุปได้ว่า Follett ได้เสนอเป็นหลักการพื้นฐานในการจัดการไว้ 4 ประการ คือ
        1.  ความสำคัญของการติดต่อสื่อสารในแนวราบ (Horizontal Communication)
        2.  การเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบริหาร (Participative Managent)
        3.  การตัดสินใจที่มีระบบ
        4.  การบริหารที่มีระบบ
กฎการบริหารของ Follett
          1.  กฎของสถานการณ์ (Law of situation)  โดย ทำให้หัวหน้า และลูกน้องเข้าใจในสภาพการทำงานที่เป็นอยู่ โดยไม่รู้สึกว่าตนถูกบังคับ เนื่องจากการติดต่อสื่อสารและการเข้ามามีส่วนร่วมในการบรหาร
     2.  กฎของการรวมตัวกัน (Law of Integration)  โดยเห็นว่าเมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นในองค์การ มีทางออกดังนี้
                  -  การครอบงำทางความคิด (Domination)
                  -  การบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับ /ประนีประนอม (Compromising)
                  -  การรวมตัวกัน (Integration)
การนำไปใช้
      สามารถนำเอาหลักทฤษฎีและแนวคิดของ Mary Parter Follett ไปใช้ในการทำงานร่วมกัน โดยให้ความสำคัญกับปัจเจกบุคคลในอันที่จะบรรลุซึ่งวัตถุประสงค์ขององค์การ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น