วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

15. ทฤษฎีของ Emerson Harrington




15. ทฤษฎีของ Emerson Harrington
Management Gurus
 



Emerson Harrington เป็นผู้ว่าการรัฐ Maryland ประเทศสหรัฐอเมริกา คนที่ 48  ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1916 ถึง ค.ศ. 1920.  และยังเป็นผู้ควบคุมกรมบัญชีกลางของรัฐ Maryland ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 ถึง ค.ศ. 1916

                Emerson Harrington เป็นบุตรของ Mr. John E. Harrington กับ Mrs. Elizabeth Thompson Harrington  เกิดที่เมือง Madison จังหวัด Dorchester รัฐ Maryland  เข้ารับการศึกษาที่เมือง Madison จนกระทั่งระดับ 16 ได้ไปศึกษาต่อที่ St. John’s College ใน Annapolis, Maryland จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เมื่อปี ค.ศ. 1884 และจบการศึกษาระดับปริญญาโทในอีก 2 ปีต่อมา หลังจากจบการศึกษา Emerson ได้กลับมาสอนที่มหาลัยเพราะผู้สอนได้ล้มป่วย ซึ่งเขาได้รับการเลือกเป็นผู้ช่วยอาจารย์  ก่อนที่จะได้รับตำแหน่งใหม่ เขามีตำแหน่งที่สำคัญ ๆ ใน Cambridge Academy  ดำรงตำแหน่งอยู่ 12 ปี  แต่งงานกับ Miss Gertrude Johnson เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1893  เขามีบุตร 3 คน คือ Emerson C. Jn, Mary Virginia, และ William Johnson     Harrington Emerson ได้เขียนหนังสือมา 3 เล่ม คือ Efficiency as a Basis for Operation and Wages(1909),  The Twelve Principles of Efficiency(1912) และ Colonel Schoonmaker and the Pittsburgh and Lake Erie Railroad(1913)  Emerson Harrington ตัดสินใจสมัครลงแข่งเป็นผู้ว่าการรัฐ Maryland ในพรรค Democratic เมื่อปี ค.ศ. 1915 Harrington

เครื่องมือนี้คืออะไร ใช้เพื่ออะไร
                Harrington Emerson ในปี ค.ศ. 1853-1931 เขาคือวิศวกรของอเมริกา ทำงานในอุตสาหกรรม และบริหารองค์กร Harrington Emerson มีแนวคิดคือได้นำเอาวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มาบริหารงานในองค์กร การบริหารแบบวิทยาศาสตร์คือ จะต้องมีการค้นพบ และทดลองเป็นอย่างดีว่า วิธีการนั้นได้ผลจริง เมื่อประเมินผลแล้วสามารถบอกได้ว่า อะไรที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดขึ้นเมื่อไหร่ แล้วนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมากำหนดเป็นหลักการบริหาร ใช้เพื่อปรับปรุงกับการจัดการกับประสิทธิภาพของคน โครงสร้าง และเป้าหมายขององค์กร เพื่อผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล
               
องค์ประกอบของแนวคิดนี้
The Twelve Principles of Efficiency ได้กล่าวถึงหลักประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กร 12 ประการที่สำคัญดังนี้
1.       Clearly defined ideals  กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน
2.       Common sense  ใช้หลักเหตุผลทั่วไป พิจารณาจากความเป็นไปได้ของงาน
3.       Competent counsel ให้คำแนะนำที่ดี มีหลักถูกต้องสมบูรณ์
4.       Discipline รักษาระเบียบวินัยในการทำงาน
5.       The fair deal ปฏิบัติงานด้วยความยุติธรรม
6.       Reliable information มีข้อมูลพร้อมทำงานที่เชื่อถือได้
7.       Dispatching มีการรายงานผลการทำงานเป็นระยะ
8.       Standards and schedules มีมาตรฐานงานเสร็จตามเวลา
9.       Standardized conditions มีผลงานได้มาตรฐาน
10.   Standardized operations ดำเนินงานถือเป็นมาตรฐานได้
11.   Written standard-practice instructions มาตรฐานที่กำหนดสามารถปฏิบัติได้
12.   Efficiency-reward ให้บำเหน็บ รางวัลแก่ผู้ปฏิบัติงานดี มีประสิทธิภาพ

ข้อดี และข้อเสียของแนวคิดนี้
          ข้อดีของแนวทางการบริหารในทฤษฎีนี้ ได้นำเอาหลักของวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีการนำมาทดลองปฏิบัติหลายครั้งแล้ว เมื่อประเมินผล สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพเพียงไร โดย Harrington Emerson ได้นำไปใช้ในการบริหารมากกว่า 200 องค์กร
                ข้อเสียนั้นแนวคิดนี้ จะแบ่งงานออกเป็นย่อย ๆ ถือเอาความรวดเร็ว ให้คนทำงานเฉพาะอย่าง ถือความชำนาญเป็นแนวในการปฏิบัติ ซึ่งอาจต้องสิ้นเปลืองคน โดยในยุดต่อมา ได้มีนักทฤษฎีได้ให้ความเห็นถึงข้อเสียในเรื่องนี้เช่นกัน
เครื่องมือนี้ใช้อย่างไร และมีการนำเครื่องไปใช้ที่ไหน กรณีศึกษา
          ทฤษฎีของ Harrington Emerson เป็นทฤษฎีการบริหารเชิงพฤติกรรมโดย Harrington ได้กล่าวถึงแนวการทำงานเพื่อให้ได้มาตรฐาน โดยนำไปใช้จนเป็นที่ยอมรับ และสร้างชื่อให้แก่ Harrington Emerson และได้นำไปใช้ปรับปรุงพัฒนากิจการรถไฟ สายแซนทาฟ ให้มีประสิทธิภาพ ปรากฏว่าได้ผลดี สามารถประหยัดเงินได้ถึงวันละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ
          สำหรับในประเทศไทย ได้มีการอ้างถึงในกรณีศึกษาของ Ampas industries Co.,ltd. Link  http://www.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/138.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น