18. ทฤษฎีของ
Franklin D.Roosevelt (FDR)
ทฤษฎีการจัดการภาครัฐ
1.
ประวัติความเป็นมา
เป็นบุคคลแห่งศตวรรษที่ 20 เกิดเมื่อวันที่ 13 มกราคม
ค.ศ. 1882 และเสียชีวิต เมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1945 สำหรับประวัติการทำงาน ค.ศ. 1910 – 1912 ดำรงตำแหน่งวุฒิสภาของรัฐนิวยอร์ก
, ค.ศ. 1913 – 1920ดำรงแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการกองทัพเรือ , ค.ศ. 1928 – 1930
ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ค และ ค.ศ.
1933 – 1945 ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 32 แห่งสหรัฐอเมริกา
และได้รับการเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งถึง 4 วาระ
มากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา หลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่1
ส่งผลให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ( The Great Depression) และหลังจาก Roosevelt ได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี
ค.ศ. 1932
และได้เข้ามาแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า
The Great Depression ดังกล่าว โดยการเสนอนโยบาย “สู่ความหวังใหม่” (New
Deal) ความหมายของ Deal ใกล้เคียงกับสภาพการเมืองในยุคนั้น
คือ “an arrangement for mutual advantage” หรือ
การจัดการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝายและเป็นการจัดการใหม่ที่ให้ความหวังแก่คน
2.
นโยบาย New Deal ใช้เพื่อ
๐ ปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมในช่วงสภาวะวิฤกติเศรษฐกิจตกต่ำ
เพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสภาพสังคมในขณะนั้นโดยทำให้แรงงานกับเจ้าของอุตสาหกรรมอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียว
๐ ให้ประชาชนทุกชนชั้นอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียวและสันติ
เช่น ให้ชาวผิวขาวและชาวแอฟริกันอเมริกันอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ และกลุ่มคนแรงงานกับเจ้าของอุตสาหรรมอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียว
๐ ผลักดันให้เกิดองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศที่เรียกว่าองค์กรสหประชาติ
3.
องค์ประกอบของ New Deal
|
1. Relief
2. Recovery
3. Reform
4. ข้อดีและข้อเสียของ New
Deal
ข้อดี เป็นมาตรการที่ช่วยสร้างงานให้ประชาชนและผันเงินเข้าสู่ชนบท,
มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ,
เป็นการจัดการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
และเป็นการจัดการใหม่ที่ให้ความหวังแก่คนทั้งประเทศให้สู้กับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ข้อเสีย
เป็นการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู้รัฐบาลกลางมากเกินไปและนโยบายหลายๆโปรแกรมไม่ใช่
แนวทางของอเมริกันตามกรอบของรัฐธรรมนูญ
(www.pracob.blogspot.com/2010/04/blog-post_7577.html)
5. ขั้นตอนของการจัดทำ
- วิเคราะห์ตามสภาวะเศรษฐกิจ โดยเร่งดำเนินการจัดทำในกรณีเร่งด่วนเป็นอันดับแรก
- ประชุมคณะรัฐบาล และที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน
- กำหนดนโยบายการบริหารจัดการตามวาระเร่งด่วน
- นำเสนอนโยบายต่างๆ เสนอต่อสภา
- นำนโยบายสู่ภาคปฏิบัติตามรัฐต่างๆ จากส่วนกลาง สู่ ท้องถิ่น อย่างทั่วถึงและโปร่งใส
6. ใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้าง
ผู้นำของโลกหลายคน อาทิ นายกอร์ดอน
บราวน์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ประธานาธิบดีของฝรั่งเศส นายนิโคลัส ซาร์โคซี่
นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ รวมทั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายบารัค
โอบามา “กรีนนิวดีล” หรือสร้างงานใหม่ด้วยธุรกิจเขียว
สร้างระบบเศรษฐกิจใหม่
โดยลดการพึ่งพาพลังงานน้ำมันหันไปใช้พลังงานสะอาดช่วยสร้างอุตสาหกรรมและฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก
(www.arip.co.th)
7.
กรณีศึกษา
การบริหารการศึกษาในระดับสถานศึกษาในสหราชอาณาจักรwww.mc.ac.th/ebook/pdf/4210019/pdf.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น