วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การวางกลยุทธ์ Strategic Planning



การวางแผนกลยุทธ์ Strategic Planning
1. ความเป็นมาของการวางแผนกลยุทธ์
การวางแผนเชิงกลยุทธนั้น เป็นเครื่องมือทางด้านการวางแผน (Planning)ในการบริหาร องค์กรให้มีการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน นำปัจจัยภายในและภายนอก มาวิเคราะห์เป็นความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ในการนำไปคิดค้นการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรโดยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของด้วยการ วิเคราะห์ การมีความยืดหยุ่นของแผนงาน การวางแผน และ ประสิทธิภาพขององค์กร
2. การวางแผนกลยุทธ์ คืออะไร
เพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์กรในระยะยาวโดยเป็นแผนงานที่ได้รับการสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองแนวคิดและนโยบายของผู้บริหารองค์กร สามารถนำไปปฎิบัติได้จริงและประเมินผลได้เพื่อสามารถปรับปรุงแผนงานให้ดีขึ้นได้
องค์ประกอบของการวางแผนกลยุทธ์
องค์ประกอบที่เป็นตัวแปรที่สำคัญของการวางแผนกลยุทธ์ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญคือ
1.               องค์ประกอบทางด้าน การบริหารจัดการ (Management Characteristic)
1.1 การวางแผนระยะยาว (Long Term Orientation) การตั้งเป้าหมายในระดับองค์กรให้บุคลากรในองค์กรเพื่อที่จะพยายามบรรลุจุดมุ่งหมายของงานที่ตนเองได้รับผิดชอบอยู่
1.2 การนำผลสำเร็จในอดีตมาพิจารณา (Perception of past success) เราจะใช้วิสัยทัศน์ที่มีในอดีตมาขัดเกลาให้เกิดวิสัยทัศน์ใหม่เพื่อสามารถวิเคราะห์จากปรากฎการณ์ เพื่อจัดเตรียมแผนงาน และ การแก้ไขปัญหา เหล่านี้ได้ในอนาคต
2.               องค์ประกอบด้าน ความคิดสร้างสรรค์ขององค์กร (Firm Dynamics)
2.1 การวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทคู่แข่งขัน (Competitor Orientation) จะสามารถเห็นถึงแนวคิดกลยุทธ์การตัดสินใจ ต่างๆที่คู่แข่งขันได้ใช้ เพื่อจะนำมาประเมินได้ นำมาซึ่งทฤษฎีใหม่ๆที่สร้างสรรค์
2.2 การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มั่นคง (Cultural Entrenchment) ความสัมพันธ์ระหว่าง องค์กรและพนักงาน เมื่อต้องการสร้างองค์กรที่แข็งแกร่งแล้ว จึงต้องสร้างวัฒนธรรมร่วมกันภายในองค์กร
2.3 การหาทรัพยากรในองค์กรที่พรั่งพร้อม (Resource Richness) ความพร้อมในด้านทรัพยากรภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพพร้อมที่จะนำไปใช้ในการทำงานได้เสมอ จะมีความได้เปรียบคู่แข่งขัน
2.4 การระงับพฤติกรรมที่มีทิศทางต่างกันกับเป้าหมายขององค์กร (Anti-planning political behavior) ลดสถานการณ์ของผู้ที่จะแสดงพฤติกรรมความคิดที่แตกต่างจากผู้บริหารได้แล้ว ย่อมจะทำให้แผนงาน ใหม่ที่นำเสนอนั้น มีโอกาสที่จะเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับการตอบรับและประสบผลสำเร็จได้
         3. องค์ประกอบด้านสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อองค์กร (Environmental Factors) มี 2 ปัจจัย คือ
                3.1 การประเมินความเข้มข้นของการแข่งขัน (Competitive Intensity) แข่งขันสูงมีผลต่อการวางแผนกลยุทธ์ของแต่ละองค์กร เราจะสามารถเห็นแผนงานความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆออกมาให้เห็นได้มากยิ่งขึ้น 
                3.2 การสร้างพฤติกรรมการเปิดรับสภาวะตลาด (Industry-wide Mindset) องค์กรใดที่มีความยึดมั่นในความคิดที่สูง โดยกำหนดคุณค่าและการปฎิบัติงานด้วยการวางแผนงานจะคงรูปแบบการบริหารจัดการแบบเดิมเอาไว้อย่างเหนียวแน่น ทำให้การคิดแผนงานใหม่ๆนั้นจะถูกจำกัดเอาไว้ในจำนวนที่ไม่มาก
3. การวางแผนกลยุทธ์ใช้เพื่อ
·        เพื่อกำหนดวางแผนในระยะยาวให้กับองค์กร
·        เป็นการวางกรอบการทำงานให้องค์กรเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการอนาคต
·        การปฏิบัติงานที่สอดคล้องกันระหว่างองค์กร กับ สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อองค์กร    
·        เพื่อประเมินภาพรวมจาก การกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ที่ใช้
·        บันทึกความสัมพันธ์ต่างๆ ระหว่างเป้าหมาย  และ  กลยุทธ์ที่ใช้ เพื่อใช้ประเมินประสิทธิภาพของแผนกลยุทธ์
4. ข้อดีข้อเสียของการวางแผนทางกลยุทธ์
ข้อดี: องค์กรมีจุดหมายเดียวกัน มีแผนงานชัดเจน จัดบุคคลากรตามหน้าที่ที่เหมาะสม เตรียมงบประมาณจัดสรรอย่างถูกต้อง และ มีบรรยาการศการทำงานที่สอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกัน
ข้อเสีย: หากมีงบจำกัด จะบริการจัดการแผนกลยุทธ์ได้ยาก และ หากมีงบมาก ก็อาจลงทุนอย่างประมาท การกำหนดแผนกลยุทธ์บางครั้งฝ่ายบริหารอาจเห็นไม่ตรงกัน
5. การจัดทำขั้นตอนของการวางแผนกลยุทธ์
ขั้นตอนในการวางแผนกลยุทธ์ 8 ขั้น
6. ผู้ที่นำแผนกลยุทธ์ไปใช้งาน
                กระทรวงพลังงาน ที่นำหลักเศรษฐกิจ พอเพียง มาเป็นหลักในการพัฒนาแผนกลยุทธ์ของ ยุทธศาสตร์พลังงาน แห่งชาติปี  http://www.energy.go.th/sites/all/files/stragic2012-2016.pdf
7. กรณีศึกษา
กระทรวงฯมองเห็นถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นจึงกำหนดแผนกลยุทธ์ด้วยการน้อมนำหลักเศรษฐกิจ     พอเพียงมาปรับใช้โดยยึดหลักตามคุณลักษณะ 3 ด้านคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และ ภูมิคุ้มกัน ที่ดีในตัวมาส่งเสริมเป็นแผนนโยบายพลังงานแห่งชาติในส่วนของการใช้พลังงานสิ้นเปลือง นอกเหนือจาก โครงการรณรงค์การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ประหยัด ใช้เท่าที่จำเป็นแล้ว จึงมีโครงการที่จะนำพืชผล การเกษตรที่เกษตรกรไทยสามารถผลิตได้เองในประเทศนำมาผลิตเป็น พลังงานทางเลือก เป็นน้ำมัน ไบโอดีเซล ที่ผลิตจากส่วนผสมของน้ำมันปาล์ม เป็นที่มาของการขยายการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันกัน อย่างแพร่หลายภายในประเทศ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น