วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

12. ทฤษฎีของ Micheal Hammer



12. ทฤษฎี Micheal Hammer

1.               หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา
การรื้อปรับระบบ (Re-engineering)                       
James Champy และ Michael Hammer ท่านทั้ง 2 ได้เขียนหนังสือที่โด่งดังมากในยุคนี้ชื่อ  “Reengineering the Corporation” (1993)
เสนอแนวคิดว่า ถ้าองค์การจะอยู่รอดและสามารถแข่งขันได้ในอนาคต ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจ
1.เปลี่ยนแปลงองค์การอย่างถอนรากถอนโคน (Radical Change)
2. โดยปรับการดำเนินงานจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่เป็นการบริหารงานตามกระบวนการธุรกิจ (Business Process Management)
2.               เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไร           
1. การกำหนดสิ่งที่องค์กรจำเป็นต้องทำ  โดยใช้กลยุทธ์เป็นตัวนำ
2. การสร้างสิ่งที่เป็นแบบจำลองของการบริหารงาน คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ที่ค่อนข้างจะเป็นไปได้ในอนาคตและมีความชัดเจน
3. กระบวนการหลักของการบริหารองค์กร
4. การออกแบบกระบวนการใหม่ โดยออกแบบกระบวนการจากภายนอก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จ
5. การนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง . โดยต้องริเริ่มและการบังคับบัญชา โดยผู้บริหารระดับสูง
3.               เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
1. ยกระดับโครงสร้างขององค์กร
2. ปรับกระบวนการทำงาน การไหลของข้อมูล (work flow)
3. ปรับภาพลักษณ์องค์กร
4. สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ามากขึ้น
4.               ข้อดี/ข้อเสียของเครื่องมือ
ข้อดี       1.มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญอันจะนำไปสู่ให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น
                2. เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ทั้งหมดในการทำงาน
                3. เจ้าหน้าที่หรือพนักงานสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น
                4. แนวคิดในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการปรับปรุงงานให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
                5. เป็นวิธีการปรับปรุงที่ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการ (process) เป็นสำคัญ
ข้อเสีย  1. แฮมเมอร์ ยอมรับว่าแนวคิดนี้ได้ละเลยเรื่องคนในองค์กร การนำรีเอ็นจิเนียริ่งไปใช้ในหลายหน่วยงาน มีการปลดพนักงานออกจำนวนมาก  เกิดผลกระทบ และพนักงานที่เหลือก็มีขวัญกำลังใจตกต่ำ เน้นความสำคัญกับลูกค้าภายนอกกมากกว่าลูกค้าภายใน (internal customer) หรือคนในองค์กร
                2. ขาดการนำเรื่องวัฒนธรรมองค์การมาพิจารณาประกอบในการปรับปรุงองค์กร
                3. รีเอ็นจิเนียริ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ซึ่งดำเนินการได้ฉับพลันจึงยากที่จะนำไปปฏิบัติให้เกิดความสำเร็จ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูงอีกด้วย
4. เป็นแนวคิดในลักษณะ Rational Approach ซึ่งมีสมมุติฐานแฝงว่า องค์การมีลักษณะเป็นเอกภาพ ที่สามารถปรับปรุงกระบวนการได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องแรงเสียดทาน หรือความขัดแย้งของกลุ่มต่างๆ อย่างใด   ซึ่งในสภาพความเป็นจริงองค์กรที่จะมีลักษณะเป็นหนึ่งเดียวกันอาจจะไม่มี หรือมีไม่มาก
                5. มีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลงจากระดับสูงลงมา (top - down) ขาดการมีส่วนร่วมจากระดับล่าง  ทำให้พันธะผูกพันในการเปลี่ยนแปลงมีน้อย
5.               ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)                           
1. เปรียบเทียบและวิเคราะห์กระบวนการแบบเดิม
2. ออกแบบกระบวนการทำงานใหม่
3. นำอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อตอบสนองงานแบบใหม่
4. ฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการทำงานแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต่อเนื่อง
6.               มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร
ธนาคารกสิกรไทย ต้องการเป็นธนาคารที่ให้บริการครบวงจร (Universal Banking) จึงมีการนำ Reengineering มาใช้ โดยให้ความสำคัญกับการตอบสนองความต้องการของลูกค้า การบริการที่รวดเร็ว มีการเปิดตัวกลุ่มทางการเงิน "K Excellence" และได้ปรับเปลี่ยนชื่อเรียกธนาคารใหม่ในภาษาอังกฤษว่า ธนาคารกสิกรไทย Kasikorn Thai Bank หรือพยายามใช้ชื่อย่อว่า K-Bank โดยพยายามเน้นที่ตัว K ซึ่งก็คือ กสิกร ให้มีความโดดเด่น
ที่มา : http://colacooper.blogspot.com/2012/10/re-engineering.html#!/2012/10/re-engineering.html
7.               กรณีศึกษา                     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น