ขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์ของ Razaian นี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาวิชาทฤษฎีองค์การ และ การจัดการกลยุทธ์ชั้นสูง ของท่านอาจารย์ของผม ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น ซึ่งได้ให้ความรู้ในหลักทฤษฎีต่างๆที่สำคัญอันเป็นเนื้อหาสำคัญของบทเรียนในวันที่ 29 กรกฏาคม 2555
ขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์ของ Rezaian, 2008
Rezaian มีแนวคิด ขั้นตอนของการวางแผนกลยุทธ์ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ
1. กำหนดพันธกิจขององค์กร (Formulating Organization's mission) เนื่องจากพันธกิจเป็นพื้นฐานในการกำหนดการจัดลำดับกลยุทธ์แผน และ การออกแบบงานซึ่งสามารถแสดงความแตกต่างหรือลักษณะเฉพาะ ของแต่ละธุรกิจที่กล่าวว่าพันธกิจควรระบุขอบเขตการปฎิบัติงานของธุรกิจในการกำหนดการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองตลาดผ่านช่องทางการขายต่างๆในภูมิศาสตร์ที่ต่างกันออกไป (Hosseini-Nasab, 2011) ซึ่งมีแนวคิดที่สอดคล้อง กับอีกท่านหนึ่งซึ่งกล่าวว่าข้อความภารกิจที่ชัดเจนควรจะเป็นที่มาของค่านิยม และการให้ลำดับความสำคัญต่างๆขององค์กรและการพัฒนาองค์กรผ่านทางข้อความภารกิจนั้น (Razaian, 2008) ซึ่งพันธกิจของแต่ละองค์กรนั้นจะเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมต่างๆใน อนาคตเพราะจำเป็นต้องคิดเกี่ยวกับลักษณะและขอบเขตของการปฎิบัติการในปัจจุบันเพื่อประเมิณการจูงใจที่มีศักยภาพของตลาดและกิจกรรมในอนาคตซึ่ง ข้อความภารกิจ จะเป็นตัวกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์กร, (Pearce & Robinson, 2009)
2. การกำหนดเป้าหมายหลัก (Goal setting, main and specific) การกำหนดเป้าหมายจะต้องชัดเจนในเรื่องของกำหนดในระยะเวลาที่แม่นยำ มีวิธีทางสู่ความสำเร็จเพราะเป้าหมายจะต้องเป็นพื้นฐานในการวางแผนและการกำหนดนโยบาย นอกจากนั้นยังต้องกำหนดมาตรฐานแห่งศักยภาพ และดำเนินตามบทบาทสำคัญขององค์กร (Rezaian, 2008) ความสำคัญของการวางแผนคือการทำความเข้าใจว่าจะทำอย่างไรในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการวางแผน (Papke-Shield et al, 2006)
3. การประเมิณทรัพยากรขององค์กร และ ประเมิณโอกาสและอุปสรรค (Evaluation of organizational resources & environmental opportunities and threats)
เป็นการประเมิณจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรเมื่อเปรียบเทียบคู่แข่ง และ วิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่จะมีผลต่อองค์กรเพื่อเปรียบเทียบกับโอกาสที่องค์กรมีเหนือคู่แข่งการวางกลยุทธ์นี้จะถูกกำหนดด้วยปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่มีผลต่อการดำเนินการขององค์กรซึ่งมีเครื่องมือที่จะช่วยในการวิเคราะห์เลือกกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดคือ เทคนิคการทำการวิเคราะห์ด้วย SWOT ของแอนเดอร์สัน ซึ่งเขียนไว้เมื่อปี 1980 ซึ่งจะวิเคราะห์กลยุทธ์จาก จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค (Rezaian, 2008)
การวิเคราะห์ SWOT นี้พิจารณาได้จากปัจจัยภายในที่มีผลต่อการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรหรือบริษัทส่วนสิ่งแวดล้อมภายนอกก็จะเป็นสิ่งที่นำมาวิเคราะห์หาโอกาสและอุปสรรคขององค์กรในการนำองค์กรสู่ความสำเร็จนั้นจะสามารถนำการ
วิเคราะห์นี้มาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรในด้านจุดแข็งและ
โอกาส โดยองค์กรจะต้องลดในส่วนของจุดอ่อนและอุปสรรคให้ได้มากที่สุด (Pearce & Robinson, 2009)
- จุดแข็ง Strengths
วิเคราะห์จากปัจจัยภายในขององค์กรว่ามีส่วนใดในองค์กรซึ่งสามารถควบคุม และทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเหนือองค์กรอื่นๆ
- จุดอ่อน Weakness
วิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กรว่ามีส่วนใดที่บกพร่องและเป็นส่วนที่ยังไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- โอกาส Opportunity
วิเคราะห์จากปัจจัยภายนอกในการเสริมสร้างโอกาสพัฒนาองค์กรอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กรในด้านต่างๆทำให้องค์กร ไม่สามารถไปถึงเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้
- อุปสรรค Threats
เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์กรเพื่อวิเคราะห์อุปสรรคที่เกิดขึ้นและมีผลต่อองค์กรในทางลบ เช่น องค์กรมีความสามารถในการผลิตสินค้าได้มาก แต่เกิดคู่แข่งที่ผลิตสินค้า ชนิดใหม่ขึ้นมา มีคุณสมบัติและราคาที่ใกล้เคียงกันทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่หันไปซื้อ ของคู่แข่ง จนทำให้สินค้าที่ผลิตมามากยังไม่สามารถขายได้เป็นต้น
เมื่อทราบถึง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ที่มีผลกระทบต่อองค์กรแล้ว ก็จะนำไปสู่การเปรียบเทียบโอกาสที่สามารถนำไปพัฒนาจุดแข็งขององค์กรได้ อีกทั้งยังสามารถชี้อุปสรรคต่างๆ ที่มีต่อจุดอ่อนขององค์กรทั้งนี้จะช่วยเป็น การเตือนให้เห็นถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ การนำอุปสรรคมาเปรียบเทียบ กับจุดแข็งขององค์กรสามารถทำให้เห็นถึงข้อจำกัดต่างๆและสุดท้ายการรวมกันของโอกาสและจุดอ่อนก็ชี้นำให้เห็นถึงความไม่มั่นคงที่มีอยู่ในองค์กรนั้นเอง (Rezaian, 2008)
4. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation)
พื้นฐานความคิดเห็นในการวางแผนกลยุทธ์ให้องค์กรควรสัมพันธ์กันกับ ลักษณะบุคลิกขององค์กรนั้นๆกับสภาพแวดล้อมโดยรอบขององค์กรการวาง กลยุทธ์เป็นเครื่องมือหนึ่งในการนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย (D’Aveni, 1995)
เพื่อให้เข้าถึงและกลมกลืนกับข้อมูลและขีดความสามารถขององค์กรเพื่อสร้าง ความได้เปรียบคู่แข่งขัน หรือ ให้องค์กรอยู่รอดในทุกขนาดขององค์กรที่ขยาย ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพื่อบรรลุ การพัฒนาที่ดี และมีกลยุทธ์ที่ชัดเจน (Ghoshal & Barlett, 1990)
5. การดำเนินกลยุทธ์ตามแผนปฎิบัติการที่กำหนด (Strategy implementation through operational programs)
หลังจากกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมได้แล้ว การปฏบัติการตามกลยุทธ์ที่ ตั้งไว้มี ความสำคัญอย่างมาก องค์กรจะต้องมีการเตรียมพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อการมุ่งสู่เป้าหมาย ให้สามารถบรรลุผลได้ การเตรียมบุคลากรในการ ปฏิบัติงาน การเตรียมเงินทุนเพื่อพัฒนา การเตรียมขั้นตอนเพื่อดำเนินงาน ตลอดจนทรัพยากรวัตถุดิบ หรือ เครื่องมือต่างๆ โดยหลักสำคัญที่ไม่ควร ละเลยก็คือ การสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบถึงแผนกลยุทธ์ และ เป้าหมาย เพื่อความร่วมแรงร่วมใจในการมุ่งไปสู่ผลสำเร็จร่วมกัน
6. การประเมิณกลยุทธ์และการเลือกแผนที่เหมาะสมเพื่อนำไปปรับแผนกลยุทธ์ (Evaluating and Choosing alternative strategy (modified)). เมื่อนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติแล้วการนำผลของการปฏิบัติงานมาประเมินจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะแจ้งให้ผู้นำองค์กรได้รู้ว่าแผนกลยุทธ์นนั้นประสบผล สำเร็จหรือไม่ ซึ่ง สามารถที่จะวัดผลได้จากผลประกอบการ หรือ ตามขั้นตอน การควบคุมและประเมินผล ต่อไปนี้
1.1 กำหนดตัวแปรในการชี้วัด เช่น ยอดขายของสินค้า
1.2 กำหนดเป้าหมายที่จะใช้วัด เช่น ตั้งเป้ายอดขายให้เติบโตกว่าเดือนที่ผ่านมา 15%
1.3 ดูผลงานที่ได้จากแผนกลยุทธ์ เช่น นำยอดขายในเดือนที่ได้ปฏิบัติแผนกลยุทธ์ แล้วมาดูผลงาน
1.4 เปรียบเทียบผลงานที่ได้ กับ เป้าที่ตั้งไว้
1.5 ทำการตัดสินใจในการปรับปรุงแผนต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น