วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการวางแผนกลยุทธ์

ขอนำเสนอองค์ประกออบที่จะใช้พิจารณาในกาพัฒนาแผนกลยุทธ์ให้ประสบผลสำเร็จ จากทฤษฎีของ Harris  และ Ogbonna (2006) ซึ่งได้ให้องค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาแผนกลยุทธ์ไว้อยู่ 8 กลุ่มที่อยู่ภายใน บุคคลิกองค์กรในการบริหารจัดการ, ความคิดสร้างสรรค์ของอฃค์กร และ สภาวะแวดล้อมในองค์กร

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการวางแผนกลยุทธ์ (Factors associated with the successful initiation of strategic planning)
แนวคิดของHarris และ Ogbonnaได้แสดงถึงองค์ประกอบที่เป็นตัวแปรที่สำคัญของการวางแผน  กลยุทธ์ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญคือ
 1. องค์ประกอบทางด้าน การบริหารจัดการ (Management Characteristic)
    2. องค์ประกอบด้าน ความคิดสร้างสรรค์ขององค์กร (Firm Dynamics)
       3. องค์ประกอบด้านสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อองค์กร (Environmental Factors) 
1.             บุคลิกการบริหารจัดการ (Management Characteristic):  มี 2 ปัจจัยที่มีผล ต่อการบริหารจัดการคือ
1.1      การวางแผนระยะยาว (Long Term Orientation)
การวางแผนระยะยาวขององค์กรมีความสำคัญในการตั้งเป้าหมายในระดับองค์กรให้เดินไปข้างหน้าตามป้าที่ตั้งเอาไว้  ในขณะที่พนักงาน หรือบุคลากรในองค์กรจะมองภาพของ แผนงาน ระยะสั้น Short Term Orientation เพื่อที่จะพยายามบรรลุจุดมุ่งหมายของงานที่ตนเองได้ รับผิดชอบ อยู่ (Harris and Ogbonna, 2006)
การวางแผนในระยะยาวให้กับองค์กรเพื่อที่จะใช้เป็นหลักในการยึดเหนี่ยวเมื่อองค์กรจะต้องประสบกับสภาพปัญหา หรือ ความเสี่ยงจากการทำทำธุรกิจการค้า แผนระยะยาวนี้จะช่วยลด พฤติกรรมที่จะเปิดโอกาสให้เกิดความผิดพลาดกับคู่ค้าขององค์กร และจะช่วยเป็นเหมือนแบบแผน ให้กับองค์กรในระหว่างการทำงานในสภาวะของตลาดที่มีโอกาสผันผวนจากปัจจัยต่างๆมากมาย (Steven Lui and Hang-Yue Ngo, 2012)
1.2      การนำผลสำเร็จในอดีตมาพิจารณา (Perception of past success)
การรับรู้ในผลของอดีตที่องค์กรได้สั่งสมมานั้นเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นการหาทางออกที่ดีและ ง่ายที่สุดให้กับวิวัฒนาการของการนำทิศทางองค์กรในอนาคต  การนำประสบการณ์จากอดีตมาใช้ เราจะได้ความแตกต่างของทัศนคติที่แตกต่างกันออกไป เพราะวัตถุประสงค์นั้นต่างกัน เราจะใช้วิสัยทัศน์ที่มีในอดีตมาขัดเกลาให้เกิดวิสัยทัศน์ใหม่เพื่อที่จะนำมาใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน การเก็บข้อมูลหรือการทำวิจัยที่ไม่ได้นำผลงานจากอดีตมาใช้พิจารณา อาจได้รับผลสรุปที่มีทิศทาง ผิดพลาดได้   เมื่อเราได้พิจารณาถึงการวิจัยต่างๆของผลงานในอดีตที่ได้รับการวิเคราะห์มาเป็น อย่างดีแล้ว ก็จะสามารถวิเคราะห์จากปรากฎการณ์ เพื่อจัดเตรียมแผนงาน และ การแก้ไขปัญหา เหล่านี้ได้ในอนาคต (Lawrence, 1984)

2.             ความคิดสร้างสรรค์ขององค์กร (Firm Dynamics)
มี 4 ปัจจัยที่มีผลต่อ ความคิดสร้างสรรค์ขององค์กร คือ
2.1      การวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทคู่แข่งขัน (Competitor Orientation)
การวิเคราะห์ข้อมูลของคู่แข่งขันในตลาดมีความสัมพันธ์กับการวางแผนเพื่อการตัดสินใจของ องค์กร การวิเคราะห์คู่แข่ง เราจะสามารถเห็นถึงแนวคิดกลยุทธ์การตัดสินใจ ต่างๆที่คู่แข่งขัน ได้ใช้  เพื่อจะนำมาประเมิณได้ จากแนวทางการตัดสินใจของคู่แข่ง เราจะได้เห็นทั้งข้อการตัดสินใจที่ ผิดพลาด เช่น การเลือกปลดพนักงานในช่วงเวลาวิกฤติ นำมาซึ่งปัญหาอีกมากมาย หรือ การเลือกที่ จะเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อที่จะฝ่าวิกฤติต่อไปให้ได้การวิเคราะห์คู่แข่งนี้จะทำให้องค์กรสามารถพึงระวังและช่วยในการกำหนดการตัดสินใจที่แม่นยำ ถูกต้องได้ (Zajac and Barzerman, 1991)
                การได้เรียนรู้จากการวิเคราะห์คู่แข่งสามารถนำมาซึ่งทฤษฎีใหม่ๆที่สร้างสรรค์ให้กับองค์กรและสร้างผลกำไรได้ในอนาคต การวิเคราะห์นั้นสามารถทำได้ในหลายแง่มุม เช่นการวิเคราะห์จาก ผู้ที่เสียเปรียบในเชิงการทำตลาด ให้นำข้อมูลมาพิจารณาว่าผู้ที่เสียเปรียบมีวิธีการรับมืออย่างไร และก็สามารถดูได้จากผู้ที่ได้เปรียบเช่นกันว่าเมื่อสามารถเป็นผู้นำตลาดแล้ว นำผลกำไรหรือ ผลประกอบการไปใช้บริหารองค์กรอย่างไร เพิ่มเติมในจุดไหน ผลของการวิเราะห์เหล่านี้จะนำไป เป็นส่วนหนึ่งในการทำแผนงาน เลือก หรือ ไม่เลือกกิจกรรมใดที่มีความเสี่ยงต่อองค์กร (Howard-Jones and friends, 2010)
2.2      การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มั่นคง (Cultural Entrenchment)
การกำหนดบทบาทภายในของแต่ละองค์กรมีความสัมพันธ์ระหว่าง องค์กรและพนักงาน ในองค์กร เมื่อต้องการสร้างองค์กรที่แข็งแกร่งแล้ว จึงต้องสร้างวัฒนธรรมร่วมกันภายในองค์กร จะสามารถ ช่วยให้บุคลากรมีความรู้สึกร่วม มีความรู้สึกเกี่ยวพันในการนำองค์กร ไปถึงจุดมุ่งหมาย เดียวกันกับ องค์กร (Watts, 2010)
การวิเคราะห์ผลกระทบของการแข่งขันทางการตลาดกับโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพขององค์กร ในหลายทฤษฎีได้กล่าวถึงการกระจายอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบในองค์กรให้มีความ เหมาะสมกับงาน หรือ หน้าที่ของแต่ละบุคลากร จะสามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้อยู่ใน สภาวะแวดล้อม ขององค์กรที่มีความสร้างสรรค์ ซึ่งจะสร้างแรงผลักดันให้องค์กรนั้น สามารถ บริหารจัดการได้อย่าง มีประสิทธิภาพ มีความพร้อมในสภาวะของการแข่งขันต่างๆอยู่เสมอ (Simonetti and Boseman, 1975)
2.3 การเตรียมทรัพยากรในองค์กรที่พรั่งพร้อม (Resource Richness)
องค์กรควรให้ความสำคัญต่อการสร้างความพร้อมในด้านทรัพยากรภายในองค์กรให้สามารถมีประสิทธิภาพ พร้อมที่จะนำไปใช้ในการทำงานได้เสมอ เมื่อองค์กรมีความพรั่งพร้อมด้าน ทรัพยากรแล้ว ย่อมที่จะมีความได้เปรียบคู่แข่งขัน
ตัวอย่างเช่น องค์กรคู่แข่งขันทางธุรกิจในสหรัฐอเมริกาองค์กรหนึ่งใส่ใจลงทุนให้เกิดความ
พร้อมทางด้าน ข้อมูล มีการทำวิจัยวัดผล และใช้บริการ โทรคมนาคมที่ทันสมัยระดับประเทศ มี ความพรั่งพร้อมทางด้านข้อมูลการติดต่อที่กว้างขวาง กับอีกหนึ่งองค์กร ซึ่งใช้เพียงบริการ โทรคมนาคมของท้องถิ่น ทำให้ผลงานที่ออกมานั้น บริษัทที่มีความพร้อมทาง ด้านทรัพยากร ที่ดีกว่ามีผลประกอบการที่ดีกว่าคู่แข่งอย่างมาก (Majumdar, 1998)
                ในด้านทรัพยาการขององค์กรได้แสดงถึงผลประกอบการที่มีสะสมและสามารถแปรมาเป็นต้นทุนขององค์กรได้ ในที่นี้ขอชี้เฉพาะเจาะจงลงไปถึงเรื่องการบริหารจัดการและการบริหารเวลาที่ มีคุณภาพขององค์กร บริษัทใดที่มีทั้งเวลาและเงินทุนที่พร้อมสรรพย่อมมีโอกาสในการบริหาร แผนงานที่มีความสร้างสรรค์ได้มากกว่าเพื่อที่จะหาแผนงานที่จะส่งผลให้ความพร้อมด้านทรัพยากรเหล่านี้ยังคงอยู่กับบริษัทต่อไป (Harris and Ogbonna, 2006)

2.4 การระงับพฤติกรรมที่มีทิศทางต่างกันกับเป้าหมายขององค์กร (Anti-planning political behavior)

บ่อยครั้งที่การนำเสนอแผนงานใหม่ๆจากผู้บริหารจะถูกขัดหรือสะดุดเพราะมีบุคคลใน ระดับผู้จัดการแสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งถ้าหากเกิดขึ้นบ่อยๆ หรือ แม้กระทั้ง แผนงานใหม่นั้นถูกสกัดกั้นถึงเจ็ดครั้ง ย่อมจะเกิดปัญหาในการดำเนินงานบริหารต่อความก้าวหน้า ขององค์กรขึ้นอย่างแน่นอน รวมทั้งจะทำให้บุคลากรอื่นๆในองค์กรเกิดความลังเล และ หันเหความ สนใจไปสู่จุดมุ่งหมายที่ทางผู้บริหารได้ตั้งเอาไว้ ทำให้เกิดภาวะการขาดบุคลากรที่จะดำเนินงาน อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ แบ่งพรรคแบ่งพวกระหว่างผู้ที่เห็นด้วย และ ผู้ที่ ไม่เห็นด้วย เกิดแรงต้านจากผู้ที่ถือทิฐิในมุมมองตนเองที่ต่างจากผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่าง แน่นอนในการบริหารจัดการงานให้เกิดประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงมีความเป็นเหตุเป็นผลที่หากลด สถานการณ์ของผู้ที่จะแสดงพฤติกรรมความคิดที่แตกต่างจากผู้บริหารได้แล้ว ย่อมจะทำให้แผนงาน ใหม่ที่นำเสนอนั้น มีโอกาสที่จะเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับการตอบรับและประสบผลสำเร็จได้ (Harris and Ogbonna, 2006)

      3. องค์ประกอบด้านสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อองค์กร (Environmental Factors)
มี 2 ปัจจัย ที่มีผลกระทบทางด้านสภาวะแวดล้อมขององค์กร คือ
                3.1 การประเมิณความเข้มข้นของการแข่งขัน  (Competitive Intensity)
ความรุนแรงของการแข่งขันมีผลต่อการวางแผนกลยุทธ์ของแต่ละองค์กร จากการพบใน ผลการวิจัยหลายๆครั้ง ตลาดใดที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด เราจะสามารถเห็น แผนงาน ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆออกมาให้เห็นได้มากยิ่งขึ้น  (Harris and Ogbonna, 2006)
                3.2 การสร้างพฤติกรรมการเปิดรับสภาวะตลาด (Industry-wide Mindset)
องค์กรใดที่มีความยึดมั่นในความคิดต่อสภาวะตลาดที่สูง โดยกำหนดคุณค่าและการ ปฎิบัติงานด้วยการวางแผนงานรองรับเอาไว้ตามความเชื่อมั่น ย่อมจะส่งผลถึงยโยบายต่างๆที่ยัง จะคงรูปแบบการบริหารจัดการแบบเดิมเอาไว้อย่างเหนียวแน่น ด้วยเชื่อว่าแผนงานเดิมนั้น ได้มีการเตรียมการมาไว้เป็นอย่างดีแล้ว เมื่อใดก็ตามที่องค์กรมีพฤติกรรมการเปิดรับสภาวะตลาดมี ความเชื่อมั่นสูง จะทำให้การคิดแผนงานใหม่ๆนั้นจะถูกจำกัดเอาไว้ในจำนวนที่ไม่มาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น