วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ TOWS และ BCG

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2555 ในชั้นเรียนวิชาการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ชั้นสูง ของ ผศ. ดร.วิชิต คุณเอกวินิตได้อธิบายถึง tools หรือ เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ เอาไว้ดังนี้

การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ มีองค์ประกอบหลักดังนี้
1.    วิสัยทัศน์
2.    ภารกิจ
3.    เป้าหมาย
4.    วัตถุประสงค์
5.    กลยุทธ์ระดับบริษัท
6.    กลยุทธ์ระดับธุรกิจ
7.    กลยุทธ์ระดับหน้าที่

มีการเตรียมงานทั้งการจัดเก็บข้อมูล การเตรียมทีมงาน เพื่อกำหนดปัญหาและอุปสรรค และ การวางแผนกลยุทธ์เพื่อการทำงานเป็นทีม

เครื่องมือที่ใช้จัดการด้านบริหาร
ด้าน Organizing
ด้าน Planning
ด้าน Leading
ด้าน Controlling
ขอนำเสนอเครื่องมือที่ใช้ในด้านการวางแผน Planning คือ TOWS, BCG, SPACE, GE, GRAND

TOWS Matrix คือการวิเคราะห์จากการนำปัจจัย จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค มาจับคู่กัน ทำให้เกิดกลยุทธ์ดังนี้
กลยุทธ์เชิงรุก SO strategy นำจุดแข็งมาจับคู่กับโอกาส
กลยุทธ์เชิงป้องกัน ST strategy นำจุดแข็งมาจับคู่กับอุปสรรค
กลยุทธ์เชิงแก้ไข WO strategy นำจุดอ่อนมาจับคู่กับโอกาส
กลยุทธ์เชิงรับ WT strategy นำจุดอ่อนมาจับคู่กับอุปสรรค

BCG Matrix คือการวิเคราะห์ด้านดารเงินการลงทุนเกี่ยวกับตลาด โดยพิจารณาจาก ส่วนแบ่งของตลาดเชิงเปรียบเทียบ และ ความน่าสนใจของตลาด
Rising Star ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูง และ มีอัตราการเติบโตของตลาดสูง
Cash Cow ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูง และ มีอัตราการเติบโตของตลาดต่ำ
Question Marks ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งการตลาดต่ำ และ มีอัตราการเติบโตของตลาดสูง
Dogs ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งการตลาดต่ำ และ มีอัตราการเติบโตของตลาดต่ำ

วิสัยทัศน์ Vision การมองภาพอนาคตของผู้นำและสมาชิกในองค์กรและกำหนดจุดหมายปลายทางที่ เชื่อมโยงกับภารกิจค่านิยม
V = I + A (วิสัยทัศน์ = ภาพฝันในอนาคต + การกระทำ)
ความสำคัญของวิสัยทัศน์
1.    กำหนดทิศทางองค์กร
2.    บุคลากรในองค์กรรู้หน้าที่ของตนเอง ว่าจะทำอะไร ทำไมต้องทำ ทำอย่างไร และ ทำเมื่อใด
3.    การทำงานมีเป้าหมายและคุณภาพ
4.    กำหนดมาตรฐานให้กับองค์กร ความเจริญก้าวหน้า

การกำหนดวิสัยทัศน์ให้ผลดี คือ มีเป้าหมายในการทำงานให้สำเร็จ กำหนดขอบเขตของหน้าที่ ผลักดันให้ได้ผลงานที่สูงกว่ามาตรฐาน สร้างกำลังใจที่ดี และ สร้างทีมงานที่สามารถทำงานได้สำเร็จ

การนำวิสัยทัศน์ไปใช้ จะช่วยให้เห็นภาพตนเองในอนาคต เมื่อมองจากสิ่งรอบด้าน เห็นทิศทางในการแก้ไขปัญหา ศึกษาระบบบริวารที่เหมาะสมสำหหรับองค์กร ศึกษาผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ไปจนถึงภาพองค์กรระดับโลก

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฏีแผนกลยุทธ์เชิงปริมาณ

การจัดการและพฤติกรรมองค์กร การกำหนดวัตถุประสงค์ระยะยาว การวิเคราะห์เชิงปริมาณ3ขั้นตอน
 (QSPM: Quantitative Strategic planning Matrix)
ขั้นตอนที่1: การเข้าสู่ตลาด การให้สารสนเทศ (Entering stage)
·         Entering factor Evaluation (EFE) matrix   วิเคราะห์ปัจจัยความสัมพันธ์สภาพแวดล้อมภายใน และ ภายนอกและทำการถ่วงน้ำหนักความสำคัญของแต่ละปัจจัย
·         CPM: Competitive Profile Matrix เปรียบเทียบปัจจัยในการแข่งขันกับคู่แข่ง
·         Internal Factor Evaluation Matrix วิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมเพื่อดูตําแหน่งในการกำหนดกลยุทธ์
    ขั้นตอนที่2 ขั้นการจับคู่ (Comparison stage) 
·         SWOT Matrix   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกซึ่งมี จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
·         Strategic Position Action Evaluation (SPACE) matrix ประเมินกลยุทธ์และตำแหน่ง เป็นเทคนิคในสร้างทางเลือกในการกำหนดกลยทุธ์ที่ผู้วิเคราะห์ต้องการให้ความสำคัญต่อสถานการณ์ทางการเงิน การได้เปรียบทางการแข่งขันและความสามารถของธุรกิจในอุตสาหกรรมและความมั่นคงของสภาพแวดล้อม
·         Boston Consultation group (BCG) matrix ตัวแบบของกลุ่มที่ปรึกษาแห่งเมืองบอสตัน เป็นเทคนิคในการวิเคราะห์เพื่อสร้างทางเลือกในการกำหนดกลยุทธ์ท่ีได้ร้บความนิยมจากนักวิเคราะห์กลยทุธ์ การใช้เทคนิคน้ีจะต้องทราบถึงส่วนแบ่งทางการตลาด ซ่ึงวัดจากยอดขายของธุรกิจเทียบกับยอดขายรวมของคูแข่งขัน และอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมซึ่งสามารถนำอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจมาใช้
·         Internal / External (IE) matrix การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก
·         Grand strategy matrix กลยุทธ์หลักในการนำเทคนิคน้ีมาใช้จะต้องทราบปัจจัยการเจริญเติบโตของตลาดและปัจจัยในการแข่งขัน
    ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการตัดสินใจ มีเทคนิคที่ใช้ (Decision making stage) ได้แก่ แผนกลยุทธ์เชิงปริมาณ QSPM: Quantitative strategic planning matrix ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ปฏิบัติในการจัดลำดับกลยุทธ์ โดยวิเคราะห์จากกลยุทธ์ที่เลือกมาด้วยวิธีต่างๆ ในขั้นจับคู่

แรงกดดันทั้ง5ต่อสภาวะการสร้างผลกำไรในการแข่งขันทางธุรกิจ

แรงกดดันทั้ง5ต่อสภาวะการสร้างผลกำไรในการแข่งขันทางธุรกิจ (Five forces that shape Industry competition)

1 Threat of new entrants’ อุปสรรคและภัยจากคู่แข่งใหม่ๆที่เข้าสู่ตลาด
   - ผลิตสินค้าที่เป็นมาตรฐานจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนต่ำลง สามารถลดต้นทุนคงที่ต่อหน่วยลดลง
   - การสร้างชื่อเสียงให้ยี่ห้อสินค้า
   - การวิเคราะห์ขนาดคู่แข่ง กำลังการผลิต เงินทุน ส่วนแบ่งการตลาด กลยุทธ์ของคู่แข่ง สภาพเศรษฐกิจ
   - ช่องทางการจำหน่ายสินค้า
   - นโยบายรัฐบาล
2 Bargaining power of suppliers’ อำนาจการต่อรองของผู้ผลิตวัตถุดิบ
   - ผู้ผลิตวัตถุดิบน้อย วัตถุดิบน้อย อำนาจการต่อรองของผู้ผลิตวัตถุดิบจะมาก
   - แหล่งผลิตวัตถุดิบน้อย อำนาจการต่อรองของผู้ผลิตจะมาก
   - ถ้าผู้ผลิตรวมตัวมากราย อำนาจการต่อรองจะสูง
   - ความแตกต่างของวัตถุดิบ ถ้าแตกต่างมาก ก็มีอำนาจการต่อรองมาก
3 Rivalry among existing competitors’ แรงผลักดันของคู่แข่งที่มีในอุตสาหกรรม
  - ถ้ามีจำนวนคู่แข่งมาก ความสามารถพอๆกันจะทำให้มีารแข่งขันที่รุนแรง
  - ถ้าอุตสาหกรรมมีการเจริญเติบโตอยู่ การแข่งขันจะไม่รุนแรงมากนัก
  - ถ้าสินค้ามีความแตกต่างกัน การแข่งขันจะไม่สูงมาก
  - ความผูกพันในตรายี้ห้อ
  - ต้นทุนในการผลิต และในการเก็บรักษา
  - ความยากง่ายในการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ ถ้าเข้ามาง่ายจะมีผลกระทบได้ง่าย
4 Bargaining power of buyers’ อำนาจการต่อรองของผู้บริโภค
  - วิเคราะห์เพื่อให้ทราบอำนาจการต่อรองของผู้บริโภคว่ามีมากหรือน้อยแค่ไหน ถ้ามีการแข่งขันสูง ผู้บริโภคมี
    ทางเลือกมากขึ้น ก็จะมีผลกระทบ ทั้งรายได้และส่วนแบ่งการตลาด 
  - ความยึดถือในยี่ห้อ
  - ถ้าลูกค้ามีการรวมตัวกันมาก ลูกค้าจะมีอำนาจการต่อรองสูง
  - ถ้าลูกค้าสามารถผลิตสินค้าได้ด้วยตัวเอง ลูกค้าก็จะมีอำนาจการต่อรองสูง

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการวางแผนกลยุทธ์

ขอนำเสนอองค์ประกออบที่จะใช้พิจารณาในกาพัฒนาแผนกลยุทธ์ให้ประสบผลสำเร็จ จากทฤษฎีของ Harris  และ Ogbonna (2006) ซึ่งได้ให้องค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาแผนกลยุทธ์ไว้อยู่ 8 กลุ่มที่อยู่ภายใน บุคคลิกองค์กรในการบริหารจัดการ, ความคิดสร้างสรรค์ของอฃค์กร และ สภาวะแวดล้อมในองค์กร

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการวางแผนกลยุทธ์ (Factors associated with the successful initiation of strategic planning)
แนวคิดของHarris และ Ogbonnaได้แสดงถึงองค์ประกอบที่เป็นตัวแปรที่สำคัญของการวางแผน  กลยุทธ์ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญคือ
 1. องค์ประกอบทางด้าน การบริหารจัดการ (Management Characteristic)
    2. องค์ประกอบด้าน ความคิดสร้างสรรค์ขององค์กร (Firm Dynamics)
       3. องค์ประกอบด้านสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อองค์กร (Environmental Factors) 
1.             บุคลิกการบริหารจัดการ (Management Characteristic):  มี 2 ปัจจัยที่มีผล ต่อการบริหารจัดการคือ
1.1      การวางแผนระยะยาว (Long Term Orientation)
การวางแผนระยะยาวขององค์กรมีความสำคัญในการตั้งเป้าหมายในระดับองค์กรให้เดินไปข้างหน้าตามป้าที่ตั้งเอาไว้  ในขณะที่พนักงาน หรือบุคลากรในองค์กรจะมองภาพของ แผนงาน ระยะสั้น Short Term Orientation เพื่อที่จะพยายามบรรลุจุดมุ่งหมายของงานที่ตนเองได้ รับผิดชอบ อยู่ (Harris and Ogbonna, 2006)
การวางแผนในระยะยาวให้กับองค์กรเพื่อที่จะใช้เป็นหลักในการยึดเหนี่ยวเมื่อองค์กรจะต้องประสบกับสภาพปัญหา หรือ ความเสี่ยงจากการทำทำธุรกิจการค้า แผนระยะยาวนี้จะช่วยลด พฤติกรรมที่จะเปิดโอกาสให้เกิดความผิดพลาดกับคู่ค้าขององค์กร และจะช่วยเป็นเหมือนแบบแผน ให้กับองค์กรในระหว่างการทำงานในสภาวะของตลาดที่มีโอกาสผันผวนจากปัจจัยต่างๆมากมาย (Steven Lui and Hang-Yue Ngo, 2012)
1.2      การนำผลสำเร็จในอดีตมาพิจารณา (Perception of past success)
การรับรู้ในผลของอดีตที่องค์กรได้สั่งสมมานั้นเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นการหาทางออกที่ดีและ ง่ายที่สุดให้กับวิวัฒนาการของการนำทิศทางองค์กรในอนาคต  การนำประสบการณ์จากอดีตมาใช้ เราจะได้ความแตกต่างของทัศนคติที่แตกต่างกันออกไป เพราะวัตถุประสงค์นั้นต่างกัน เราจะใช้วิสัยทัศน์ที่มีในอดีตมาขัดเกลาให้เกิดวิสัยทัศน์ใหม่เพื่อที่จะนำมาใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน การเก็บข้อมูลหรือการทำวิจัยที่ไม่ได้นำผลงานจากอดีตมาใช้พิจารณา อาจได้รับผลสรุปที่มีทิศทาง ผิดพลาดได้   เมื่อเราได้พิจารณาถึงการวิจัยต่างๆของผลงานในอดีตที่ได้รับการวิเคราะห์มาเป็น อย่างดีแล้ว ก็จะสามารถวิเคราะห์จากปรากฎการณ์ เพื่อจัดเตรียมแผนงาน และ การแก้ไขปัญหา เหล่านี้ได้ในอนาคต (Lawrence, 1984)

2.             ความคิดสร้างสรรค์ขององค์กร (Firm Dynamics)
มี 4 ปัจจัยที่มีผลต่อ ความคิดสร้างสรรค์ขององค์กร คือ
2.1      การวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทคู่แข่งขัน (Competitor Orientation)
การวิเคราะห์ข้อมูลของคู่แข่งขันในตลาดมีความสัมพันธ์กับการวางแผนเพื่อการตัดสินใจของ องค์กร การวิเคราะห์คู่แข่ง เราจะสามารถเห็นถึงแนวคิดกลยุทธ์การตัดสินใจ ต่างๆที่คู่แข่งขัน ได้ใช้  เพื่อจะนำมาประเมิณได้ จากแนวทางการตัดสินใจของคู่แข่ง เราจะได้เห็นทั้งข้อการตัดสินใจที่ ผิดพลาด เช่น การเลือกปลดพนักงานในช่วงเวลาวิกฤติ นำมาซึ่งปัญหาอีกมากมาย หรือ การเลือกที่ จะเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อที่จะฝ่าวิกฤติต่อไปให้ได้การวิเคราะห์คู่แข่งนี้จะทำให้องค์กรสามารถพึงระวังและช่วยในการกำหนดการตัดสินใจที่แม่นยำ ถูกต้องได้ (Zajac and Barzerman, 1991)
                การได้เรียนรู้จากการวิเคราะห์คู่แข่งสามารถนำมาซึ่งทฤษฎีใหม่ๆที่สร้างสรรค์ให้กับองค์กรและสร้างผลกำไรได้ในอนาคต การวิเคราะห์นั้นสามารถทำได้ในหลายแง่มุม เช่นการวิเคราะห์จาก ผู้ที่เสียเปรียบในเชิงการทำตลาด ให้นำข้อมูลมาพิจารณาว่าผู้ที่เสียเปรียบมีวิธีการรับมืออย่างไร และก็สามารถดูได้จากผู้ที่ได้เปรียบเช่นกันว่าเมื่อสามารถเป็นผู้นำตลาดแล้ว นำผลกำไรหรือ ผลประกอบการไปใช้บริหารองค์กรอย่างไร เพิ่มเติมในจุดไหน ผลของการวิเราะห์เหล่านี้จะนำไป เป็นส่วนหนึ่งในการทำแผนงาน เลือก หรือ ไม่เลือกกิจกรรมใดที่มีความเสี่ยงต่อองค์กร (Howard-Jones and friends, 2010)
2.2      การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มั่นคง (Cultural Entrenchment)
การกำหนดบทบาทภายในของแต่ละองค์กรมีความสัมพันธ์ระหว่าง องค์กรและพนักงาน ในองค์กร เมื่อต้องการสร้างองค์กรที่แข็งแกร่งแล้ว จึงต้องสร้างวัฒนธรรมร่วมกันภายในองค์กร จะสามารถ ช่วยให้บุคลากรมีความรู้สึกร่วม มีความรู้สึกเกี่ยวพันในการนำองค์กร ไปถึงจุดมุ่งหมาย เดียวกันกับ องค์กร (Watts, 2010)
การวิเคราะห์ผลกระทบของการแข่งขันทางการตลาดกับโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพขององค์กร ในหลายทฤษฎีได้กล่าวถึงการกระจายอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบในองค์กรให้มีความ เหมาะสมกับงาน หรือ หน้าที่ของแต่ละบุคลากร จะสามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้อยู่ใน สภาวะแวดล้อม ขององค์กรที่มีความสร้างสรรค์ ซึ่งจะสร้างแรงผลักดันให้องค์กรนั้น สามารถ บริหารจัดการได้อย่าง มีประสิทธิภาพ มีความพร้อมในสภาวะของการแข่งขันต่างๆอยู่เสมอ (Simonetti and Boseman, 1975)
2.3 การเตรียมทรัพยากรในองค์กรที่พรั่งพร้อม (Resource Richness)
องค์กรควรให้ความสำคัญต่อการสร้างความพร้อมในด้านทรัพยากรภายในองค์กรให้สามารถมีประสิทธิภาพ พร้อมที่จะนำไปใช้ในการทำงานได้เสมอ เมื่อองค์กรมีความพรั่งพร้อมด้าน ทรัพยากรแล้ว ย่อมที่จะมีความได้เปรียบคู่แข่งขัน
ตัวอย่างเช่น องค์กรคู่แข่งขันทางธุรกิจในสหรัฐอเมริกาองค์กรหนึ่งใส่ใจลงทุนให้เกิดความ
พร้อมทางด้าน ข้อมูล มีการทำวิจัยวัดผล และใช้บริการ โทรคมนาคมที่ทันสมัยระดับประเทศ มี ความพรั่งพร้อมทางด้านข้อมูลการติดต่อที่กว้างขวาง กับอีกหนึ่งองค์กร ซึ่งใช้เพียงบริการ โทรคมนาคมของท้องถิ่น ทำให้ผลงานที่ออกมานั้น บริษัทที่มีความพร้อมทาง ด้านทรัพยากร ที่ดีกว่ามีผลประกอบการที่ดีกว่าคู่แข่งอย่างมาก (Majumdar, 1998)
                ในด้านทรัพยาการขององค์กรได้แสดงถึงผลประกอบการที่มีสะสมและสามารถแปรมาเป็นต้นทุนขององค์กรได้ ในที่นี้ขอชี้เฉพาะเจาะจงลงไปถึงเรื่องการบริหารจัดการและการบริหารเวลาที่ มีคุณภาพขององค์กร บริษัทใดที่มีทั้งเวลาและเงินทุนที่พร้อมสรรพย่อมมีโอกาสในการบริหาร แผนงานที่มีความสร้างสรรค์ได้มากกว่าเพื่อที่จะหาแผนงานที่จะส่งผลให้ความพร้อมด้านทรัพยากรเหล่านี้ยังคงอยู่กับบริษัทต่อไป (Harris and Ogbonna, 2006)

2.4 การระงับพฤติกรรมที่มีทิศทางต่างกันกับเป้าหมายขององค์กร (Anti-planning political behavior)

บ่อยครั้งที่การนำเสนอแผนงานใหม่ๆจากผู้บริหารจะถูกขัดหรือสะดุดเพราะมีบุคคลใน ระดับผู้จัดการแสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งถ้าหากเกิดขึ้นบ่อยๆ หรือ แม้กระทั้ง แผนงานใหม่นั้นถูกสกัดกั้นถึงเจ็ดครั้ง ย่อมจะเกิดปัญหาในการดำเนินงานบริหารต่อความก้าวหน้า ขององค์กรขึ้นอย่างแน่นอน รวมทั้งจะทำให้บุคลากรอื่นๆในองค์กรเกิดความลังเล และ หันเหความ สนใจไปสู่จุดมุ่งหมายที่ทางผู้บริหารได้ตั้งเอาไว้ ทำให้เกิดภาวะการขาดบุคลากรที่จะดำเนินงาน อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ แบ่งพรรคแบ่งพวกระหว่างผู้ที่เห็นด้วย และ ผู้ที่ ไม่เห็นด้วย เกิดแรงต้านจากผู้ที่ถือทิฐิในมุมมองตนเองที่ต่างจากผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่าง แน่นอนในการบริหารจัดการงานให้เกิดประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงมีความเป็นเหตุเป็นผลที่หากลด สถานการณ์ของผู้ที่จะแสดงพฤติกรรมความคิดที่แตกต่างจากผู้บริหารได้แล้ว ย่อมจะทำให้แผนงาน ใหม่ที่นำเสนอนั้น มีโอกาสที่จะเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับการตอบรับและประสบผลสำเร็จได้ (Harris and Ogbonna, 2006)

      3. องค์ประกอบด้านสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อองค์กร (Environmental Factors)
มี 2 ปัจจัย ที่มีผลกระทบทางด้านสภาวะแวดล้อมขององค์กร คือ
                3.1 การประเมิณความเข้มข้นของการแข่งขัน  (Competitive Intensity)
ความรุนแรงของการแข่งขันมีผลต่อการวางแผนกลยุทธ์ของแต่ละองค์กร จากการพบใน ผลการวิจัยหลายๆครั้ง ตลาดใดที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด เราจะสามารถเห็น แผนงาน ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆออกมาให้เห็นได้มากยิ่งขึ้น  (Harris and Ogbonna, 2006)
                3.2 การสร้างพฤติกรรมการเปิดรับสภาวะตลาด (Industry-wide Mindset)
องค์กรใดที่มีความยึดมั่นในความคิดต่อสภาวะตลาดที่สูง โดยกำหนดคุณค่าและการ ปฎิบัติงานด้วยการวางแผนงานรองรับเอาไว้ตามความเชื่อมั่น ย่อมจะส่งผลถึงยโยบายต่างๆที่ยัง จะคงรูปแบบการบริหารจัดการแบบเดิมเอาไว้อย่างเหนียวแน่น ด้วยเชื่อว่าแผนงานเดิมนั้น ได้มีการเตรียมการมาไว้เป็นอย่างดีแล้ว เมื่อใดก็ตามที่องค์กรมีพฤติกรรมการเปิดรับสภาวะตลาดมี ความเชื่อมั่นสูง จะทำให้การคิดแผนงานใหม่ๆนั้นจะถูกจำกัดเอาไว้ในจำนวนที่ไม่มาก

ขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์ของ Rezaian



ขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์ของ Razaian นี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาวิชาทฤษฎีองค์การ และ การจัดการกลยุทธ์ชั้นสูง ของท่านอาจารย์ของผม ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น ซึ่งได้ให้ความรู้ในหลักทฤษฎีต่างๆที่สำคัญอันเป็นเนื้อหาสำคัญของบทเรียนในวันที่ 29 กรกฏาคม 2555 

ขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์ของ Rezaian, 2008

Rezaian มีแนวคิด ขั้นตอนของการวางแผนกลยุทธ์ประกอบด้วย ขั้นตอน คือ
1. กำหนดพันธกิจขององค์กร (Formulating Organization's mission)  เนื่องจากพันธกิจเป็นพื้นฐานในการกำหนดการจัดลำดับกลยุทธ์แผน และ การออกแบบงานซึ่งสามารถแสดงความแตกต่างหรือลักษณะเฉพาะ ของแต่ละธุรกิจที่กล่าวว่าพันธกิจควรระบุขอบเขตการปฎิบัติงานของธุรกิจในการกำหนดการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองตลาดผ่านช่องทางการขายต่างๆในภูมิศาสตร์ที่ต่างกันออกไป (Hosseini-Nasab, 2011) ซึ่งมีแนวคิดที่สอดคล้อง กับอีกท่านหนึ่งซึ่งกล่าวว่าข้อความภารกิจที่ชัดเจนควรจะเป็นที่มาของค่านิยม และการให้ลำดับความสำคัญต่างๆขององค์กรและการพัฒนาองค์กรผ่านทางข้อความภารกิจนั้น (Razaian, 2008) ซึ่งพันธกิจของแต่ละองค์กรนั้นจะเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมต่างๆใน อนาคตเพราะจำเป็นต้องคิดเกี่ยวกับลักษณะและขอบเขตของการปฎิบัติการในปัจจุบันเพื่อประเมิณการจูงใจที่มีศักยภาพของตลาดและกิจกรรมในอนาคตซึ่ง ข้อความภารกิจ จะเป็นตัวกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์กร, (Pearce & Robinson, 2009)

2. การกำหนดเป้าหมายหลัก (Goal setting, main and specific) การกำหนดเป้าหมายจะต้องชัดเจนในเรื่องของกำหนดในระยะเวลาที่แม่นยำ มีวิธีทางสู่ความสำเร็จเพราะเป้าหมายจะต้องเป็นพื้นฐานในการวางแผนและการกำหนดนโยบาย นอกจากนั้นยังต้องกำหนดมาตรฐานแห่งศักยภาพ และดำเนินตามบทบาทสำคัญขององค์กร (Rezaian, 2008) ความสำคัญของการวางแผนคือการทำความเข้าใจว่าจะทำอย่างไรในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการวางแผน (Papke-Shield et al, 2006)

3. การประเมิณทรัพยากรขององค์กร และ ประเมิณโอกาสและอุปสรรค (Evaluation of organizational resources & environmental opportunities and threats)
เป็นการประเมิณจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรเมื่อเปรียบเทียบคู่แข่ง และ วิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่จะมีผลต่อองค์กรเพื่อเปรียบเทียบกับโอกาสที่องค์กรมีเหนือคู่แข่งการวางกลยุทธ์นี้จะถูกกำหนดด้วยปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่มีผลต่อการดำเนินการขององค์กรซึ่งมีเครื่องมือที่จะช่วยในการวิเคราะห์เลือกกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดคือ เทคนิคการทำการวิเคราะห์ด้วย SWOT ของแอนเดอร์สัน ซึ่งเขียนไว้เมื่อปี 1980 ซึ่งจะวิเคราะห์กลยุทธ์จาก จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค (Rezaian, 2008)
การวิเคราะห์ SWOT นี้พิจารณาได้จากปัจจัยภายในที่มีผลต่อการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรหรือบริษัทส่วนสิ่งแวดล้อมภายนอกก็จะเป็นสิ่งที่นำมาวิเคราะห์หาโอกาสและอุปสรรคขององค์กรในการนำองค์กรสู่ความสำเร็จนั้นจะสามารถนำการ
วิเคราะห์นี้มาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรในด้านจุดแข็งและ
โอกาส โดยองค์กรจะต้องลดในส่วนของจุดอ่อนและอุปสรรคให้ได้มากที่สุด (Pearce & Robinson, 2009)
  •                      จุดแข็ง Strengths

วิเคราะห์จากปัจจัยภายในขององค์กรว่ามีส่วนใดในองค์กรซึ่งสามารถควบคุม และทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเหนือองค์กรอื่นๆ
  •                      จุดอ่อน Weakness

วิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กรว่ามีส่วนใดที่บกพร่องและเป็นส่วนที่ยังไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  •                   โอกาส Opportunity

วิเคราะห์จากปัจจัยภายนอกในการเสริมสร้างโอกาสพัฒนาองค์กรอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กรในด้านต่างๆทำให้องค์กร ไม่สามารถไปถึงเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้
  •                       อุปสรรค Threats

เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์กรเพื่อวิเคราะห์อุปสรรคที่เกิดขึ้นและมีผลต่อองค์กรในทางลบ เช่น องค์กรมีความสามารถในการผลิตสินค้าได้มาก แต่เกิดคู่แข่งที่ผลิตสินค้า ชนิดใหม่ขึ้นมา มีคุณสมบัติและราคาที่ใกล้เคียงกันทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่หันไปซื้อ ของคู่แข่ง จนทำให้สินค้าที่ผลิตมามากยังไม่สามารถขายได้เป็นต้น  

เมื่อทราบถึง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ที่มีผลกระทบต่อองค์กรแล้ว ก็จะนำไปสู่การเปรียบเทียบโอกาสที่สามารถนำไปพัฒนาจุดแข็งขององค์กรได้ อีกทั้งยังสามารถชี้อุปสรรคต่างๆ ที่มีต่อจุดอ่อนขององค์กรทั้งนี้จะช่วยเป็น การเตือนให้เห็นถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ การนำอุปสรรคมาเปรียบเทียบ กับจุดแข็งขององค์กรสามารถทำให้เห็นถึงข้อจำกัดต่างๆและสุดท้ายการรวมกันของโอกาสและจุดอ่อนก็ชี้นำให้เห็นถึงความไม่มั่นคงที่มีอยู่ในองค์กรนั้นเอง (Rezaian, 2008)

4การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation)
พื้นฐานความคิดเห็นในการวางแผนกลยุทธ์ให้องค์กรควรสัมพันธ์กันกับ ลักษณะบุคลิกขององค์กรนั้นๆกับสภาพแวดล้อมโดยรอบขององค์กรการวาง กลยุทธ์เป็นเครื่องมือหนึ่งในการนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย (D’Aveni, 1995)
เพื่อให้เข้าถึงและกลมกลืนกับข้อมูลและขีดความสามารถขององค์กรเพื่อสร้าง ความได้เปรียบคู่แข่งขัน หรือ ให้องค์กรอยู่รอดในทุกขนาดขององค์กรที่ขยาย ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพื่อบรรลุ การพัฒนาที่ดี และมีกลยุทธ์ที่ชัดเจน (Ghoshal & Barlett, 1990)

5การดำเนินกลยุทธ์ตามแผนปฎิบัติการที่กำหนด (Strategy implementation through operational programs)
หลังจากกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมได้แล้ว การปฏบัติการตามกลยุทธ์ที่ ตั้งไว้มี ความสำคัญอย่างมาก องค์กรจะต้องมีการเตรียมพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อการมุ่งสู่เป้าหมาย ให้สามารถบรรลุผลได้ การเตรียมบุคลากรในการ ปฏิบัติงาน การเตรียมเงินทุนเพื่อพัฒนา การเตรียมขั้นตอนเพื่อดำเนินงาน  ตลอดจนทรัพยากรวัตถุดิบ หรือ เครื่องมือต่างๆ โดยหลักสำคัญที่ไม่ควร ละเลยก็คือ การสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบถึงแผนกลยุทธ์ และ เป้าหมาย เพื่อความร่วมแรงร่วมใจในการมุ่งไปสู่ผลสำเร็จร่วมกัน

6. การประเมิณกลยุทธ์และการเลือกแผนที่เหมาะสมเพื่อนำไปปรับแผนกลยุทธ์ (Evaluating and Choosing alternative strategy (modified)). เมื่อนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติแล้วการนำผลของการปฏิบัติงานมาประเมินจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะแจ้งให้ผู้นำองค์กรได้รู้ว่าแผนกลยุทธ์นนั้นประสบผล สำเร็จหรือไม่ ซึ่ง สามารถที่จะวัดผลได้จากผลประกอบการ หรือ ตามขั้นตอน การควบคุมและประเมินผล ต่อไปนี้
1.1 กำหนดตัวแปรในการชี้วัด เช่น ยอดขายของสินค้า
1.2  กำหนดเป้าหมายที่จะใช้วัด เช่น ตั้งเป้ายอดขายให้เติบโตกว่าเดือนที่ผ่านมา 15%
1.3 ดูผลงานที่ได้จากแผนกลยุทธ์ เช่น นำยอดขายในเดือนที่ได้ปฏิบัติแผนกลยุทธ์ แล้วมาดูผลงาน
1.4 เปรียบเทียบผลงานที่ได้ กับ เป้าที่ตั้งไว้
1.5  ทำการตัดสินใจในการปรับปรุงแผนต่อไป