วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

10.ทฤษฎีของ Douglas McGregor



               10.ทฤษฎีของ Douglas  McGregor
ทฤษฎี X และ ทฤษฎี Y
                                                               
ประวัติของ Douglas McGregor

  • เกิดในปี1906 ที่เมือง Detroit ในรัฐ Michigan
  • ได้รับปริญญาด้านจิตวิทยาการทดลองจากมหาวิทยาลัย Harvardในปี1935 และสอนที่มหาวิทยาลัยนี้เป็นเวลา 2 ปี
  • จากนั้นมาสอนที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซทหรือ MIT ฐานะอาจารย์สอนวิชาจิตวิทยา 
  •  เนื่องจากตำแหน่งที่เพิ่มขึ้นทำให้เขาย้ายเข้ามาเป็นศาสตราจารย์สอนทางจิตวิทยาและเป็นผู้บริหารระดับสูงในส่วนของแผนกความสัมพันธ์ทางอุตสาหกรรมของ MIT
  • และในที่สุด ก็ได้กลายเป็นนักจิตวิทยาสังคม
  • ตอนหลังได้กลายเป็นประธานของวิทยาลัย Antitioch 
  • ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักจากการเข้าไปเชื่อมโยงกับทฤษฎี Y ที่เขาได้กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “Managing the Human Side of Enterprise”  
  • อีกทั้งยังมีบทความสำคัญที่เล่าเกี่ยวกับงานอาชีพของเขา เรื่อง“Leadership and Motivation”
  • และในช่วงฤดูร้อนในปี 1964  ได้ใช้เวลาเขียนต้นฉบับซึ่งถูกตีพิมพ์หลังจากเขาตายในเดือนตุลาคมชื่อเรื่อง “The Professional Manager ”

เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไร
Douglas McGregor ผู้คิดค้นทฤษฎี X และทฤษฎี Yได้ศึกษาวิธีการที่ผู้บริหารมองตัวเองสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทัศนะนี้ต้องการความคิดในการรับรู้ธรรมชาติของมนุษย์  เป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดการทัศนะทางสังคม  และศึกษาถึงแนวทางในการบริหารบุคคลภายในองค์กร โดยเสนอเรื่องการจูงใจ  แมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y
ข้อสมมติเกี่ยวกับทฤษฎี X
                 1. โดยทั่วไปมนุษย์ไม่ชอบการทำงาน และจะหลีกเลี่ยงงานถ้าสามารถทำได้
               2. จากลักษณะของมนุษย์ ที่ไม่ชอบทำงาน คนส่วนใหญ่จึงต้องถูกบังคับ ควบคุม สั่งการและใช้วิธีการลงโทษ เพื่อให้ใช้ความพยายามให้เพียงพอ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
               3. มนุษย์โดยเฉลี่ยพอใจการถูกบังคับ ต้องการเลี่ยงความรับผิดชอบ มีความทะเยอทะยานน้อย และต้องการความปลอดภัย ทฤษฎี X เป็นการมองโลกในแง่ร้าย ไม่ยืดหยุ่น การควบคุมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บังคับบัญชาใช้ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชา)
Douglas McGregor ผู้คิดค้นทฤษฎี X และทฤษฎี Yได้ศึกษาวิธีการที่ผู้บริหารมองตัวเองสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทัศนะนี้ต้องการความคิดในการรับรู้ธรรมชาติของมนุษย์  เป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดการทัศนะทางสังคม  และศึกษาถึงแนวทางในการบริหารบุคคลภายในองค์กร โดยเสนอเรื่องการจูงใจ  แมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y
ข้อสมมติเกี่ยวกับทฤษฎี Y
             1. โดยทั่วไปมนุษย์ไม่ชอบการทำงาน และจะหลีกเลี่ยงงานถ้าสามารถทำได้
             2. จากลักษณะของมนุษย์ ที่ไม่ชอบทำงาน คนส่วนใหญ่จึงต้องถูกบังคับ ควบคุม สั่งการและใช้วิธีการลงโทษ เพื่อให้ใช้ความพยายามให้เพียงพอ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
             3. มนุษย์โดยเฉลี่ยพอใจการถูกบังคับ ต้องการเลี่ยงความรับผิดชอบ มีความทะเยอทะยานน้อย และต้องการความปลอดภัย ทฤษฎี X เป็นการมองโลกในแง่ร้าย ไม่ยืดหยุ่น การควบคุมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บังคับบัญชาใช้ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชา)
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
  ทฤษฎี X  มีลักษณะเป็นเผด็จการเป็นการมองโลกในแง่ร้าย  ไม่ยืดหยุ่นการควบคุมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บังคับบัญชาใช้เพื่อควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชา 
๐  ทฤษฎี Y  ใช้เพื่อการพัฒนาตนเองของมนุษย์  เพื่อชี้ให้เห็นว่ามนุษย์นั้นรู้จักตัวเองได้ถูกต้อง รู้จักความสามารถของตนเอง ผู้บริหารควรสร้างแรงจูงใจโดยการสร้างสรรค์สถานการณ์ที่จะทำให้สมาชิกมีความรู้สึกรับผิดชอบ และมีส่วนร่วมในการทำงาน ในการบริหารนั้น มีการนำทฤษฎีเชิงจิตวิทยามาใช้จำนวนมาก เพราะการบริหารเป็นการทำงานกับ คนและทฤษฎีจิตวิทยาก็พูดเรื่อง คน การควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และภาวะผู้นำ
ข้อดี/ข้อเสียของเครื่องมือ
๐     ทฤษฎี  X  (หรือ Theory  X  assumptions)  มีแนวคิดด้านการจัดการแบบเก่าแก่ดั้งเดิม (Traditional  Management)  หมายถึงการบริหารอย่างกดขี่ (Authoritarian) มองว่าพนักงานเกียจคร้าน  ไม่สนใจทำงาน จึงต้องบังคับให้ทำงาน ควบคุมสั่งการและใช้วิธีการลงโทษ  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร  แต่โดยทั่วไปมนุษย์ไม่ชอบการทำงานและจะหลีกเลี่ยงงานถ้าสามารถทำได้ และโดยทั่วไปคนเรามักมีความทะเยอทะยานเพียงเล็กน้อย  พอใจกับการถูกบังคับ(บ้าง) แต่ก็ต้องการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ  และต้องการอยู่ในที่ๆ ความปลอดภัย  ผู้นำที่เป็นพวกหัวเก่าจึงมักใช้และคุ้นเคยกับการใช้อำนาจบังคับขู่เข็ญและให้คุณให้โทษลูกน้อง (ตามตัวแบบของทฤษฎี  X )
๐   ทฤษฎี  Y  (Theory  Y  assumptions)  คือ การบริหารแบบเสรีประชาธิปไตยที่เอื้อเพื่อให้เกิดความร่วมมือกัน มีแนวคิดว่าพนักงานมีความคิดสร้างสรรค์และมีความสนใจในการทำงาน  เชื่อว่าพนักงานทุ่มเทเต็มใจที่จะใช้สติปัญญาในการทำงานเพื่อให้เกิดผลประโยชน์แก่องค์กร  ผู้นำหรือผู้บริหารจึงจูงใจพนักงานโดยการให้โอกาสในการพัฒนาสติปัญญาและให้โอกาส ให้อิสระในการเลือกวิธีการทำงานของลุกน้องเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 
๐   แม้ว่าทั้ง 2 ทฤษฎีมีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างกันแต่ก็มีเป้าหมายเดียวกัน อยู่ที่ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องรู้จักเลือกหยิบใช้เครื่องมือหรือแนวคิดทฤษฎีที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น ลูกน้องระดับล่างสุดขององค์กร อาชีพบางอาชีพที่ไม่ต้องใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์มากมายนัก มักต้องใช้ทฤษฎี  จึงจะได้ผลดี
เครื่องมือนี้ใช้อย่างไร/จัดทำอย่างไร
๐   ทฤษฎี X (Theory X) คือคนประเภทเกียจคร้าน ในการบริหารจึงควรใช้มาตรการบังคับ มีระเบียบกฎเกณฑ์คอยกำกับ มีการควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด และมีการลงโทษเป็นหลัก  
๐    ทฤษฎี Y (Theory Y) คือคนประเภทขยัน ควรมีการกำหนดหน้าที่การงานที่เหมาะสม ท้าทายความสามารถ สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก และควรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน
ผู้ที่นำเครื่องมือนี้ไปใช้และผลสรุป
                เคยมีการศึกษาพบว่าพนักงานโรงงาน ห้างร้านต่างๆ ที่ทำงานเป็นรูปแบบที่ตายตัว ไม่ต้องพลิกแพลงรูปแบบการทำงาน คนกลุ่มนี้ชอบที่จะใช้การตั้งกฎกติกาที่เคร่งครัดตายตัวมากกว่า เช่น การตั้งเวลาเริ่มต้น-เลิกงานที่ตายตัว หากให้พนักงานเหล่านี้คิดหรือตัดสินใจจะเริ่มทำให้ระบบงานแปรปรวน นอกจากนี้ก็ยังมีอาชีพที่ต้องรับคำสั่งเพียงอย่างเดียว การทำนอกเหนือคำสั่งถือเป็นความผิดที่ร้ายแรงและส่งผลกระทบถึงเป้าหมายของหน่วยที่อาจคลาดเคลื่อนไป ทำให้ผู้บริหารต้องรับผิดชอบความผิดพลาดที่เกิดขึ้น  นอกจากนี้ แนวคิดแบบทฤษฎี  ก็เคยแพร่หลายในสมัยที่ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมรุ่งเรือง เพราะทุกคนคือ หน่วยผลิตเหมือนๆ กันทั้งประเทศและจะได้รับการปันส่วนของปัจจัย 4 อย่างเท่าเทียมกัน  ในขณะเดียวกันเราต้องนำทฤษฎี ไปใช้กับกับพนักงานในระดับที่สูงขึ้นหรือต้องใช้ความคิดและทักษะที่สูงกว่า องค์กรที่มีความหลากหลายหรือใช้องค์ประกอบที่มากความสามารถต้องมีความยืดหยุ่นสูง รู้จักปรับตัวให้เช้าสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจะปกครองคนได้
กรณีศึกษา
                The Pizza Company บริหารงานโดยบริษัท The Minor Food Group จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แดรี่ควีนส์ เบอร์เกอร์คิงส์ ซิสเลอร์ และสเวนเซ่นส์  จุดเริ่มต้นของ The Pizza Company เริ่มมาจากการซื้อลิขสิทธิ์ Pizza Hut ของ Pepsi Co. จากผลการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จของ Pizza Hut ซึ่งเกิดจากการที่บริษัทดูแลและเอาใจใส่เน้นทางด้านพนักงาน ทำให้บริษัทแม่ขอลิขสิทธิ์คืนเพื่อนำกลับไปบริหารงานเอง The Minor Food Group ที่เป็นผู้บุกเบิกตั้งแต่ต้นเห็นว่ายังมีพนักงานที่มีความสามารถและต้องการจะอยู่กับบริษัท จึงตัดสินใจดำเนินกิจการต่อภายใต้แบรนด์ “The Pizza Company” โดยสร้างแบรนด์ของตนเอง เพื่อผู้บริโภคชาวไทยในปี 2544 โดยใช้ประสบการณ์การดำเนินงานเดิมที่มีอยู่จนทำให้ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 70% และ The Minor Food Group กำลังขยายตลาดไปยังประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง
                บริษัทมี ค่านิยมขององค์กร คือ การมุ่งเน้นที่ลูกค้าเป็นหลัก จากนั้นจึงมุ่งเน้นที่การทำงานของพนักงานว่าต้องมีผล และค่านิยมสุดท้ายคือการพัฒนาพนักงาน และมี ปรัชญาแห่งชัยชนะ ที่จะทำให้พนักงานมีความมุ่งมั่นในการทำงาน อันได้แก่ การทุ่มเทสติปัญญา และแรงกายแรงใจ การมีความซื่อสัตย์ต่อองค์กรและต่อตนเอง และสุดท้ายคือจะต้องเป็นหนึ่งในใจของลูกค้าตลอด ซึ่งการจะได้มาซึ่งค่านิยมและปรัชญาแห่งชัยชนะที่บริษัทตั้งไว้แล้วนั้น บริษัทให้ความสำคัญกับพนักงาน โดยถือว่า “Team Work ที่แข็งแกร่ง คือพลังแห่งความสำเร็จ
                The Pizza Company เน้นความสำคัญด้านพนักงาน โดยถือว่าพนักงานเป็นสินทรัพย์ของบริษัทที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ ซึ่งสามารถสร้างหรือก่อให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาองค์กร การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ หรือแม้แต่ความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ดังนั้น บริษัทจึงสรรหาวิธีการสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นกับตัวของพนักงานทุกคนในทุก ๆ ด้าน  เมื่อมาพิจารณาตามทฤษฏี X และทฤษฏี Y (McGregor’s Theory X and Theory Y) เป็นการใช้สมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ โดยทฤษฏี X มองคนในแง่ลบ ซึ่งทาง The Pizza Company ได้ใช้บทลงโทษ โดยเริ่มจากการเตือนด้วยปากเปล่า จนถึงการพักงาน และให้ออกจากงานในที่สุด ซึ่งจะมีอยู่ในกฎระเบียบและข้อบังคับของบริษัท แต่โดยเบื้องต้นแล้วบริษัทจะมองพนักงานในแง่บวกตามทฤษฏี Y คือมีความกระตือรือร้นในการทำงาน แสวงหาความรับผิดชอบ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้เป็นกลุ่มคนที่บริษัทคัดเลือกมาจากขั้นตอนการรับสมัครงาน โดยกลุ่มนี้บริษัทจะต้องใช้แรงจูงใจทางบวก เช่น ให้รางวัล และการยกย่อง ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ยังรวมถึงการสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดีด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น